กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3919
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorถนอมศักดิ์ บุญภักดี
dc.contributor.authorพลอยสิรินทร์ แสงมณี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2020-04-30T08:24:50Z
dc.date.available2020-04-30T08:24:50Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3919
dc.description.abstractทำการศึกษาคุณภาพน้ำและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำขุมเหมืองเก่าในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 63 บ่อ โดยเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทั้ง 28 พารามิเตอร์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน พบว่า แหล่งน้ำขุมเหมืองเก่าอำเภอเมือง ชลบุรี 6 บ่อ, อำเภอพานทอง 5 บ่อ, อำเภอบ้านบึง 9 บ่อ , อำเภอศรีราชา 12 บ่อ และอำเภอพนัสนิคม 12 บ่อ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และบางบ่อในตำบลหนองข้างคอกและนาป่า อำเภอเมือง รวมไปถึงบ่อบางส่วนในอำเภอบ้านบึง จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภค-บริโภค (ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน) ซึ่งพารามิเตอร์ที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินฯ ได้แก่ ปริมาณบีโอดี (บ่อ NR1-NR5 และ NP1-NP5) และปริมาณสาร หนู (บ่อ NK7, NR2-NR5, BB4, BB11 และ BB12) ซึ่งหากต้องการนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษเพื่อลดปริมาณความเข้มข้นของสารหนู จากการศึกษาแหล่งน้ำทั้งหมดพบว่ามีปริมาณน้ำที่สามารถนำไปใช้งานได้ 45,953,477 ลูกบาศก์เมตร และได้ทำการประเมินศักยภาพแหล่งน้ำขุมเหมืองเพื่อการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ โดย พิจารณา 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ศักยภาพด้านตำแหน่งที่ตั้ง 2. ศักยภาพด้านการกักเก็บน้ำ และ 3.ศักยภาพด้านคุณภาพน้ำ สรุปได้ว่า แหล่งน้ำในตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง มีศักยภาพเหมาะสมที่สุดสำหรับการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเขตชุมชนที่อยู่อาศัย ทำให้สะดวกต่อการเข้าถึงแหล่งน้ำมากกว่าพื้นที่อื่นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณภาพน้ำth_TH
dc.subjectน้ำผิวดินth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศth_TH
dc.subjectสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์th_TH
dc.titleการประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำขุมเหมืองเก่าในจังหวัดชลบุรีโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailkatsirinsangmanee@gmail.comth_TH
dc.author.emailnuiosk@yahoo.comth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeWater quality and water usage assessment from 63 old mining pits in Chonburi Province were assessed. Water samples were analyzed and compared with the surface water standard in Thailand. The water quality indicates that 6 pits in Muang, 5 pits in Panthong, 9 pits in Banbung, 12 pits in Sriracha, and 12 pits in Panusnikom districts ranked in standard class 2. However, the standard Class3 was found in some pits in Muang and Banbung district. It shows that water from the pits can be used for daily consumption with conventional disinfection and water improvement. However, BOD values of pits NR1-NR5 and NP1-NP5, and arsenic in pits NK7, NR2-NR5, BB4, BB11, and BB12 were higher than the standard; therefore, it needs unique treatments. According to the available water capacity from the whole pits, it contains 45,953,477 cubic meters. Potential assessment for water usage was revealed according to location, capacity, and water quality. It can be concluded that old mining pits in Khong Tamlung sub-district, Banbung district, show high potential for further use as water resources as they are close to communities and easy to assess.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_062.pdf22.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น