กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3906
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พิชามญชุ์ ปุณโณทก | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-04-23T02:01:42Z | |
dc.date.available | 2020-04-23T02:01:42Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3906 | |
dc.description.abstract | โรคจิตเวชเป็นปัญหาสาธารณสุขสาคัญของประเทศไทย ญาติผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายชุมชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญในระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีแบบแผนการวิจัยแบบผสมผสานคู่ขนานกัน เพื่อศึกษาความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อม และความต้องการสำหรับการดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชนจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแล จำนวน 310 คน และภาคีเครือข่ายชุมชน จำนวน 200 คน (ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุก จานวน 103 คน และหุ้นส่วนชุมชน จำนวน 97 คน) ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน ซึ่งดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณกับญาติผู้ดูแลเป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ความรุนแรงของโรค พลังสุขภาพจิต ทัศนคติ การรับรู้ภาระการดูแล มุมมองเชิงบวกจากการดูแล ความพร้อมในการดูแล และ ความต้องการสาหรับการดูแล ส่วนภาคีเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ทัศนคติ 3ความพร้อมในการดูแล และความต้องการสำหรับการดูแล สาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แนวคาถามการสนทนาแบบปลายเปิดและแนวคาถามสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณมาสังเคราะห์และตีความร่วมกันในภาพรวม 1. ผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการดูแลในชุมชนมีอายุเฉลี่ย 45.96 ปี เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณครึ่งหนึ่งมีสถานภาพโสดและจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยจิตเวชมีระยะเวลาการป่วยทางจิตเวชอยู่ในช่วง 10 ปี มากกว่า 1 ใน 3 มีโรคร่วมกับการป่วยทางจิตเวช ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมโรคร่วมได้ ญาติผู้ดูแลรับรู้ถึงความรุนแรงของโรคภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ 2. ผู้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนมี 2 ส่วนสาคัญ ประกอบด้วย 1) ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าผู้ป่วยจิตเวช ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีสถานภาพคู่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และประกอบอาชีพ ซึ่งบางส่วนระบุว่าการดูแลผู้ป่วยจิตเวชส่งผลต่อการประกอบอาชีพและสถานะทางการเงิน ญาติผู้ดูแลเกือบครึ่งมีโรคประจาตัว ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมโรคร่วมได้ และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพภาพรวมในระดับปานกลาง ญาติผู้ดูแลส่วนใหญ่ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่ แต่ขาดการออกกำลังกาย ไม่ได้ตรวจสุขภาพ และมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ทั้งนี้ญาติผู้ดูแลมากกว่าครึ่งมีพลังสุขภาพจิตภาพรวมอยู่ในระดับต่ำเกณฑ์ปกติ ญาติผู้ดูแลมีความสัมพันธ์เป็นบิดา/มารดาที่ทาหน้าที่ดูแลบุตร และพี่/น้องมากที่สุด ส่วนใหญ่มีเหตุผลของการเป็นผู้ดูแลคือ เป็นหน้าที่ และรู้สึกยอมรับกับบทบาทผู้ดูแลภาพรวมในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วย และยังไม่ได้รับการเตรียมก่อนการดูแลจากโรงพยาบาล ส่วนมากมีจำนวนชั่วโมงในการดูแลเฉลี่ย 1 6 ชั่วโมง ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 10 ปี นอกจากนี้ บางส่วนยังต้องดูแลบุคคลในครอบครัวนอกเหนือจากผู้ป่วยจิตเวช และมากกว่าครึ่งไม่มีผู้ช่วยเหลือในการดูแล 2) ภาคีเครือข่ายการดูแลในชุมชน ที่ทำหน้าดูแลผู้ป่วยจิตเวชและสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลในชุมชน ได้แก่ ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกซึ่งเป็นพยาบาลมากที่สุด อายุเฉลี่ย 38.69 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และเป็นข้าราชการ/พนักงานของรัฐ ในขณะที่ทีมหุ้นส่วนชุมชน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มากที่สุด มีอายุเฉลี่ยมากกว่าทีมดูแลสุขภาพเชิงรุก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและประกอบอาชีพเป็นรับจ้างมากที่สุด ส่วนมากของทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกและหุ้นส่วนชุมชนไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วย และไม่เคยได้รับการอบรมเพื่อการดูแล 3. ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชน 1) ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลพบว่า ญาติผู้ดูแลมีการรับรู้ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมด้านการตอบสนองความต้องการของตนเองมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจิตเวช และด้านข้อมูลข่าวสาร แหล่งสนับสนุน และเครือข่าย ซึ่งตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล (B = .407, p < .001) ปัญหาสุขภาพกายผู้ดูแล (B = -.237, p < .001) อายุของผู้ดูแล (B = -.206, p < .001) มุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการดูแล (B = .153, p < .01) และการได้รับการเตรียมก่อนดูแล (B = .126, p < .01) สามารถอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลภาพรวมได้ร้อยละ 40.2 (R2 = .402, F = 40.861, p < .001) 2) ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกพบว่า ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกมีการรับรู้ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมด้านการตอบสนองความต้องการของญาติผู้ดูแลมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจิตเวชใกล้เคียงกับด้านข้อมูลข่าวสาร แหล่งสนับสนุน และเครือข่ายซึ่งตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล (B = .324, p < .01) และการยอมรับบทบาท (B = .217, p < .05) สามารถอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกภาพรวมได้ร้อยละ 21.4 (R2 = .214, F = 13.622, p < .001) 3) ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมหุ้นส่วนชุมชนพบว่า ทีมหุ้นส่วนชุมชนมีการรับรู้ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมด้านการตอบสนองความต้องการของญาติผู้ดูแลมากที่สุดใกล้เคียงกับด้านข้อมูลข่าวสาร แหล่งสนับสนุน และเครือข่าย ส่วนด้านสุดท้ายคือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล (B = .422, p < .001) และการยอมรับบทบาท (B = .272, p < .01) สามารถอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมหุ้นส่วนชุมชนภาพรวมได้ร้อยละ 36.1 (R2 =.361, F = 26.508, p < .001) 4. ความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชน 4.1 ความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลพบว่า ญาติผู้ดูแลมีความต้องการภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยในด้านการสร้างแรงจูงใจในการเป็นผู้ดูแล ผู้ดูแลต้องการการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจของผู้ดูแลและครอบครัวให้พร้อมเผชิญกับอาการทางจิตของผู้ป่วย ครอบครัวเข้าใจและยอมรับผู้ป่วย และต้องการกำลังใจจากคนในครอบครัว ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน ผู้ดูแลต้องการกการเตรียมด้านความรู้เกี่ยวกับโรคทางจิตเวช ทักษะการดูแลผู้ป่วย และทักษะในการจัดการความเครียดของตนเอง 4.2 ความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของเครือข่ายชุมชน พบว่า ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกมี มีความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และรายด้านที่มีระดับสูงคือด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน ส่วนด้านการสร้างแรงจูงใจในการเป็นผู้ดูแล และด้านการเตรียมศักยภาพในการเป็นผู้ดูแล มีความต้องการระดับปานกลาง ส่วนทีมหุ้นส่วนชุมชน มีความต้องการภาพรวม และรายด้านทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยความต้องการด้านสร้างแรงจูงใจในการเป็นผู้ดูแลนั้น เครือข่ายชุมชนต้องการเข้าใจในขอบเขตบทบาทในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ชัดเจน การลดช่องว่างระหว่างครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชกับชุมชน ด้านการเตรียมศักยภาพในการเป็นผู้ดูแล เครือข่ายต้องกรด้านความรู้ และทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และการรู้จักครอบครัวของผู้ป่วย ส่วนด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน เครือข่ายต้องการให้มีการพัฒนาระบบการทำงานของภาคีเครือข่ายชุมชน โดยให้มีศูนย์เครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน มีศูนย์ส่งต่อที่รวดเร็วและมีระบบรองรับผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติ บุคลากรด้านสุขภาพ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมพัฒนาความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในญาติผู้ดูแล ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุก และทีมหุ้นส่วนชุมชน โดยกลวิธีสำคัญในการพัฒนากลุ่มญาติผู้ดูแล ได้แก่ การส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล ดูแลสุขภาพญาติผู้ดูแล เพิ่มมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการดูแล และเตรียมก่อนการดูแล กลวิธีสาคัญในการพัฒนาภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้งทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกและทีมหุ้นส่วนชุมชน ได้แก่ การเพิ่มทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล และส่งเสริมแรงจูงใจการยอมรับบทบาทการดูแล ตลอดจนพิจารณากลวิธีให้ตอบสนองต่อความต้องการ เพื่อให้ภาคีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนมีความพร้อมในการดูแล นำไปสู่ประสิทธิภาพการดูแล และผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อตัวผู้ป่วยจิตเวช และภาคีการดูแลผู้ป่วยจิตเวช | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเวช | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเวช -- การดูแล | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | ความพร้อมและความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชนเขตจังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | The Readiness and Needs for Psychiatric Patient Care of Families Caregivers and Community Networkers in Chonburi Province | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Psychiatric illness is a significant health problem in Thailand. Families caregivers and community networkers are essential resources in the long-term care system for psychiatric patients. This Cross-sectional describe research and concurrent mixed-methods research aimed to describe readiness of caregiving and determine factors influencing the readiness of caregiving for psychiatric patients among families caregivers and community networkers, and also study needs for long term psychiatric patient care in community in Chonburi Province. A multi-stage cluster random sampling was used to recruit 310 participants of family caregivers of psychitric patients and 200 community networkers (103 health care team and 97 community partners) in Chonburi province. Data were carried out from October 2018 to March 2019. Research instrument were used to collect quantitative data with family caregivers were interviews including basic information, patient’ severity of disease, caregiver’ resilience quotient, attitude, perception of care burden, positive caregiving aspects, care readiness, and needs for care to psychiatric patient care. Community network were cooleced using self-report questionnaires, consisting of basic information, attitudes, care readiness, and needs for care to psychiatric patient care. Qualitative data used open-ended dialogue questions and semi-structured interview questions. Descriptive statistics and stepwise multiple regression statistics were used to analyze the quantitative data. Content analysis were used to analyze the qualitative data. Qualitative and quantitative research results are synthesized and interpreted together as a whole. 1. Psychiatric patients in community have a mean of 45.96. Most of them were male. Half of them were single and had primary school education. The majority of them were unemployees. The duration of illness of two thirds of them were 10 years. One third of them had comorbidity with psychiatric illness which could be controlled. The caregivers perceived severity of the care recipients’ illness at low level. 2. The community networks composd of 2 significant parts: 2.1 The family caregivers who care for psychiatric patients had more mean age than the patients. Most of them were female, were married, had primary school education, and were employees. Some of them reported that their caregiver role impacted on their carrier and financial. Half of them had physical illness which could be controlled. They perceived their overall health at moderate level. The majority of them did not use substance abused: alchohol and tobacco, but lack of having exercise, check-up and had sleep problem. More than a half of them had low level of resilience. The majority of them were parents and sibling which considered caregiver role as their duty andaccept their caregiver roles at a moderate level. Most of them had no past experience for being caregiver for paychatric patients and had not been prepared from hospital. Most of them had a mean of caregiving hour at 1-6 hours. The duration of their caregiving role less than 10 years. Additionally, some of them were caregivers for other family members with lacking other assistances. 2.2 The community network who care for psychiatric patients and their caregivers in community composed of helath care team which nurses were the majority with the mean age of 38.69. Most of them were female, had primary school education, and were government officers while the community partners were village health volunteers as the majority group. The age of them were more than those of helath care teams. Most of them were female, had primary school education, and were the workers. Both helath care team and community partners had no past experience for being caregiver for paychatric patients and had not been prepared from hospital. 3. The readiness of long term caregiving for psychiatric patients in community. 3.1 The readiness in caregiving for psychiatric patients among the caregivers. The overall and all of each dimension of readiness in caregiving for psychiatric patients among the caregivers were moderate level. The highest dimension of readiness were the readiness for self care need and for caring the patient’s need, and for support information help resources and network, repeatedly. The predictor model with attitude on the patient and cargiving (B = .407, p < .001) caregiver’s health problem (B = -.237, p < .001) age of caregivers(B = -.206, p < .001) positive caregiving aspects (B = .153, p < .01) and preparedness for caregiving (B = .126, p < .01) was able to cout for 40.2 percent of variance (R2 = .402, F = 40.861, p < .001) of the overall care readiness. 3.2 The readiness in caregiving for psychiatric patients among the health care team. The overall and all of each dimension of readiness in caregiving for psychiatric patients among the health care team were moderate level. The highest dimension of readiness were the readiness for caring caregiver’s needs, for caring the patient’s needs, and for support information help resources and network, repeatedly. The predictor model with attitude on the patient and cargiving (B = .324, p < .01) role acceptance (B = .217, p < .05) was able to cout for 21.4 percent of variance (R2 = .214, F = 13.622, p < .001) of the overall care readiness. 3.3 The readiness in caregiving for psychiatric patients among the community partners. The overall and all of each dimension of readiness in caregiving for psychiatric patients among the community partners were moderate level. The highest dimension of readiness were the readiness for caring caregiver’s needs, for support information help, resources and network, and for caring the patient’s needs repeatedly. The predictor model with attitude on the patient and cargiving (B = .422, p < .001) and role acceptance (B = .272, p < .01) was able to cout for 36.1 percent of variance (R2 =.361, F = 26.508, p < .001) of the overall care readiness. 4. The needs for long term psychiatric patient care in community. 4.1 The needs for long term psychiatric patient care in community among caregiver. The overall and all of each dimension of caregiver’s needs were moderate level. In the dimension of motiovation in caregiving role, the caregiver needed mental preparing for both of them and their famlilies to face with psychotic symptoms. The needed their families to accept the patients and provided psychological support to them. They also needed information supports regarding the pschistric illness caregiving skills and stress management skills for themselves. 4.2 The needs for long term psychiatric patient care in community among community network. The overall of health care team’s need were high level. The highest dimension were the need of support information, help resources, and network. The need of motiovation in caregiving role and preparing competency of caregiver were moderate level. The overall and all of each dimension of community partners’ needs were moderate level. In the dimension of motiovation in caregiving role, the community partners needed to understand more cleary about their role in caring for psychiatric patients in community. In addition, community partners needed information about psychiatric illness, caregiving skills, and understanding the families they cared to enhance their caregiving competency. Moreover, they needed the network system in caring foor paychiatric patients and families, including caregivers network center, refering system, and system for support homeless patients. A major contribution of this study is that it offers nurse practitioners, health care proverders, and stakeholders a new understanding about the caregiving context for psychiatric patiens in community, caregivers and community network’s care readiness, factors influencing their readiness, and needs for caring to psychiatric patients and their caregivers in community. The findings can be used as basis information for developing a program to enhance the readiness among caregivers through promoting their attitude to psychiatric patients and caregiving, and positive aspects of caregiving. The findings also quide the strategies to develop the readiness among the health care team and community partners via enhancing their attitude to psychiatric patients and caregiving and promoting their motivation to care and accept their caregiving role, as well as the strategies to help the community network team to met their caregiving needs. The readiness of caregivers, health care team, and community partners is an essential for caregiving efficiency and caregiving outcomes of the psychiatric patients and caregiving network teams | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_054.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น