กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3898
ชื่อเรื่อง: การรู้จำกิจกรรมที่ปรับได้สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงจากกระแสข้อมูลเชิงเวลาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบพกพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักริน สุขสวัสดิ์ชน
ชิดชนก เหลือสินทรัพย์
อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน
ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
เหมรัศมิ์ วชิรหัตถพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ
คำสำคัญ: อุปกรณ์เคลื่อนที่
สมาร์ทโฟน
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวแบบรู้จำกิจกรรม ด้วยข้อมูลกระแสเชิงเวลา จากตัวรับรู้แอคเซเลอโรมิเตอร์ของสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์สวมใส่ข้อมือ จะใช้วิธีสร้างตัวแบบรู้จำ กิจกรรมเฉพาะบุคคล โดยจำเป็นต้องเก็บข้อมูลการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้ตามยะระเวลาที่ กำหนด จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างตัวแบบรู้จำกิจกรรมด้วยวิธีการจำแนกข้อมูลวิธีการต่าง ๆ ซึ่ง จะได้ตัวแบบรู้จำกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้ใช้คนคนนั้น แต่อย่างไรก็ตามการสร้างตัวแบบรู้จำกิจกรรม ลักษณะนี้อาจเป็นการรบกวนผู้ใช้มากเกินไป เนื่องจากผู้ใช้จะต้องเสียเวลาเก็บข้อมูลการทำกิจกรรม ด้วยตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากผู้ใช้ทำกิจกรรมไม่ครบทุกกิจกรรมหรือทำไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด การรู้จำกิจกรรมก็อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ จากโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงาน คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ที่ผ่านมา ผู้วิจัยได้นำเสนอวิธีการสร้างตัวแบบรู้จำกิจกรรมไม่เฉพาะ บุคคล 2 วิธี ได้แก่ 1) วิธี “การรู้จำกิจกรรมแบบไม่เฉพาะบุคคลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน” หรือ “ไอ ซาร์” และ 2) วิธี “ปรับปรุงการรู้จำกิจกรรมแบบไม่เฉพาะบุคคลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน” หรือ “ไอ ซาร์พลัส” ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านเวลา และความถูกต้อง ในการรู้จำกิจกรรมจากกระแสตัวรับรู้แอค เซเลอโรมิเตอร์ของสมาร์ทโฟนในโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งจะทำการทดลองวิจัยโดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่ข้อมือ หรือนาฬิกาอัจฉริยะ ซึ่งกระแสของข้อมูลที่จะใช้ในการรู้จำกิจกรรมจะมีความซับซ้อนมากกว่าข้อมูลที่มาจากสมาร์ทโฟน รวมถึงการใช้ข้อมูลจากตัวรับรู้มากกว่า 1 ตัวเพื่อเพิ่มความถูกต้องในการทำนายกิจกรรมให้มากขึ้น ซึ่งจากการออกแบบวิธีการ ดำเนินงานผู้วิจัยได้นำเสนอวิธีการ ใหม่นี้ว่า “Smartwatch based Physical Activity Recognition” หรือเรียกว่า “S-PAR” และผลการทดลองเมื่อทำการเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นโดย ใช้ข้อมูลจริงจากฐานข้อมูลสาธารณะ พบว่าวิธีการ S-PAR มีผลความถูกต้องดีกว่าวิธีการที่นำมา เปรียบเทียบ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาต่อยอดเป็นแอปพลิเคชันต่อไปได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3898
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_041.pdf10.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น