กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3894
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดคลอดบุตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a simulation for teaching medical procedure: a model for practicing cesarean section
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเสริม วัฒนกิจ
กิตติ กรุงไกรเพชร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: สื่อการสอน
หุ่นจำลอง
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาหุ่นจำลองสาหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสาหรับฝึกผ่าตัดคลอดบุตร” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และประเมินคุณภาพหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดคลอดทาง หน้าท้องในด้านการใช้งาน (Function) และด้านคุณค่าทางความงาม (Aesthetic) กลุ่มตัวอย่างใน การวิจัยได้จากการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักศึกษาแพทย์ด้านสูตินรี เวช จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า หุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเมื่อตรวจสอบคุณภาพโดยการทดลอง (Try out) หุ่นจำลองกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้หรือได้รับประสบการณ์ในเรื่องการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแล้ว พบว่า มีคุณภาพด้านการใช้งาน (Function) อยู่ในเกณฑ์มาก และด้านคุณค่าทางความงาม (Aesthetic) อยู่ในเกณฑ์ มาก คุณภาพในภาพรวมของหุ่นจำลองอยู่ในเกณฑ์มาก และเมื่อใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักศึกษาแพทย์มีผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมาก แสดงให้เห็นว่าหุ่นจำลองที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3894
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_046.pdf4.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น