กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3892
ชื่อเรื่อง: | ประมวลสัญญาณภาพดิจิตอลในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของยารูปแบบเม็ดและแคปซูลในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Digital image processing on local drug identification for Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภักดี สุขพรสวรรค์ สมชาติ โชคชัยธรรม วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การประมวลผลภาพ ยาเม็ด สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การระบุเอกลักษณ์ทางกายภาพของยาในประเทศจากอุตสาหกรรมการผลิตยาภายในประเทศที่ผลิตยาตัวเทียบเคียงยาต่างประเทศ ใช้การเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศต้องมนุษย์เป็นให้ ข้อมูลในการสืบค้า จนกระทั้งเภสัชกรไม่สามารถที่จะระบุตัวยาได้อย่างชัดเจน เป็นมาในการนำไปสู่การพัฒนาวิธีการประมวลสัญญาณด้วยภาพถ่ายดิจิตอล วิธีการทดลองยากลุ่มแก้ปวดจัดจำหน่ายในประเทศไทยได้ทำการขึ้นทะเบียนยาในช่วงระหว่างระหว่างปี 2559-2560 โดยทำการสุ่มตัวอย่างยากลุ่มแก้ปวดโดยใช้วิธีการ เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตัวอย่างผ่านคุณสมบัติทั้งสิ้นเป็นจำนวน 173 รายการ วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อ วิเคราะห์ภาพ 2 ตัวแปร ด้านขนาดและรูปร่าง คือพิจารณาลักษณะการพื้นที่เลขาคณิตของยาแก้ปวด โดยการ วิเคราะห์ drug surface อาศัยเทคนิคการวิเคราะห์หาพื้นผิวเม็ดยาในการช่วยบ่งบอกจำแนกพื้นผิวยาได้ การศึกษาดูค่าตัวเลขทางสถิติแสดงให้เห็นว่า ยาชื่อทางการค้าแต่ละชนิดมีค่าจำแนกขนาดพื้นผิวยาออกไป 5 ช่ว ง คือ 0-400,000 pixel, 400,000-800,000 pixel, 800,000-1,200,000 pixel แ ล ะ 1,200,000- 1,600,000 pixel และ มากกว่า 1,600,000 pixel ขึ้นไป จากการกำหนดด้วยการหาสมการเชิงเส้น Linear ได้ค่า y = 12750x + 227702 โดยใช้สมการ moving average เพื่อให้ช่วงตัดของเส้นสมการทั้งคู่ และ พิจารณาลักษณะจำแนกรูปร่างเม็ดยา ด้วยวิธีการทั้งแบบพิกัดตามแกนขอบภาพ แบบพิกัดศูนย์การภาพ และ การเส้นรอบวงของเม็ดยา ต้องการใช้ในการระบุรูปร่างด้วยคำนวนพิกัด circularities เหมาะสมที่สุด หาก ต้องการเครื่องมือในการคัดกรองรูปร่างเบื้องต้นด้วยคำนวนพิกัด centroid เหมาะสมใช้เวลาคำนวนน้อย แต่ หากต้องการทราบขนาดเลขคณิตความกว้างและยาวของเม็ดยาด้วยคำนวนพิกัดตามแกนขอบภาพ เป็นการพิสูจน์คุณลักษณะเฉพาะตัวของยานั้นๆให้ชัดเจนมากขึ้นลดปัญหาความคลาดเคลื่อนของมนุษย์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3892 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_047.pdf | 7.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น