กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3891
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการดูแลความสุขสบายในการดูแลแบบประคับประคองภาวะสุขภาพ สำหรับผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comfort model in Palliative Care for End-of-Life patients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุพิน ถนัดวณิชย์
นนทกร ดำรงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: สุขภาวะ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารูปแบบการดูแลความสุขสบายในการดูแลแบบประคับประคองภาวะสุขภาพสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต ในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน-การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสุขสบายและความไม่สุขสบายใน 4 บริบท (ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ ด้านสังคม-วัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม) ของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต และ 2) เพื่อศึกษาความสุขสบายของ สมาชิกครอบครัวผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มแบบคู่ ได้แก่ 1) ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต (ผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้และการเจ็บป่วยอยู่ในระยะท้ายของชีวิตซึ่งประเมินได้จากผลคะแนนที่ได้จากการประเมินความ ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง < 60 คะแนน) และ 2) สมาชิกครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต (ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตในขณะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล) ได้ถูกคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 300 คู่ จาก 3 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินความต้องการการดูแลแบบประคับประคองภาวะสุขภาพ 2) แบบสถอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกครอบครัวผู้ดูแล 4) แบบสอบถามความสุขสบายของผู้ป่วยอยู่ในระยะท้ายชีวิต 5) แบบสอบถามความสุขสบายสมาชิกครอบครัวผู้ดูแลและ 6) แบบสัมภาษณ์ความไม่สบายของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต ข้อมูลที่ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ข้อมูลจากเครื่องมือที่ 1-5) และสรุปและจับประเด็นเนื้อหา (ข้อมูลจากเครื่องมือที่ 6) ผลการศึกษาพบว่า คามสุขสบายของกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตอยู่ในระดับ ปานกลาง (X = 4.11, SD = 0.58) และความสุขสบายของกลุ่มตัวอย่างสมาชิกครอบครัวผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน (X = 3.92, SD = 0.47) ส่วนความไม่สุขสบาย ทั้ง 4 บริบทของกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ในระยะท้ายของ ชีวิตที่พบมากและมีความรุนแรงมาก ได้แก่ ด้านร่ายกาย-ความปวด ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ-วิตกกังวลเกี่ยวกับ ความเจ็บป่วย และปัญหาเศรษฐกิจ ด้านสังคม-วัฒนธรรม-มีความห่วงใยบุคคลในครอบครัว และด้านสิ่งแวดล้อม-เสียงดังภายในหอ/ ห้องผู้ป่วย สรุปได้ว่า ผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตและสมาชิดครอบครัวผู้ดูแลยังต้องการการส่งเสริมความสุขสบายทั้ง 4 บริบทขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลควรจะมีความรู้และความเข้าใจแนวคิด/ทฤษฎีเรื่องความสุขสบายเพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอในการให้การพยาบาลความสุขสบายแก่ผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตและสมาชิกครอบครัวผู้ดูแลให้มีความสุขสบายมากที่สุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3891
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_023.pdf27.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น