กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3885
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effectiveness of motivation and family participation program on self–care behavior for preventing stroke among community–dwelling hypertensive older adults |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรชัย จูลเมตต์ สมชาย ตรีทิพย์สถิตย์ ฉวีวรรณ ชื่นชอบ จิดาภา จุฑาภูวดล กนิษฐา ภู่พวง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคหลอดเลือดสมองนับเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 100 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 50 ราย ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวเป็นรายกลุ่มสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 2) แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล 3) แบบคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูง 4) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว สื่อวีดิทัศน์ โปสเตอร์ และคู่มือการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้ผ่านการหาความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ภายหลังการได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรนำโปรแกรมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวนี้ไปใช้ในการให้การดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มนี้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้น แล้วนักวิจัยควรทำการศึกษาเพื่อลดระยะเวลาของโปรแกรมลงทั้งนี้ยังคงผลการวิจัยเช่นเดิม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3885 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_026.pdf | 794.16 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น