กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3865
ชื่อเรื่อง: | ผลของการบริโภครำข้าวและจมูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อการควบคุมความดันโลหิต การทำงานของหัวใจ และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of Riceberry Bran and Germ Supplementation on Blood Pressure Control, Cardiac Function, and Cardiovascular Risks in Aging with Pre-hypertension |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ภาวะเครียดออกซิเดชัน ระบบประสาท สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความดันโลหิต การทำงานของระบบ ประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนและหลังการรับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไปและน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดหลังการรับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไปและน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 36 คน เป็นเพศชาย 1 คน และเพศหญิง 35 คน อายุ 66.50 ± 4.69 ปี ดัชนีมวลกาย 24.11 ± 3.22 กิโลกรัม/ตารางเมตร ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว 122.16 ± 11.80 และ 73.58 ± 11.64 มิลลิเมตรปรอท ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไป จำนวน 19 คน และกลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 17 คน ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่มรับประทานน้ำมันรำข้าวที่ได้รับ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 แคปซูล หรือวันละ 1,000 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้าทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนและหลังการรับประทานน้ำมันรำข้าว ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับการตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกาย ระดับความดันโลหิต ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจซึ่งบ่งชี้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเครียดออกซิเดชันและการอักเสบในเลือด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไปมีระดับภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง (p = 0.000) ขณะเดียวกันพบว่ามวลโปรตีนลดลงเช่นกัน (p = 0.028) ส่วนกลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีระดับภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง (p = 0.001) การอักเสบลดลง (p = 0.007) น้ำหนักตัวลดลง (p = 0.024) และดัชนีมวลกายมีแนวโน้มลดลงหลังการรับประทาน (p = 0.052) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าระดับความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเครียดออกซิเดชันและการอักเสบในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีแนวโน้มของอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไป (p =0.088) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นประจำในระยะสั้นมีภาวะเครียดออกซิเดชัน การอักเสบ และน้ำหนักตัวลดลง การศึกษาผลของการรับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในระยะยาวขึ้น อาจช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ รวมถึงองค์ประกอบของร่างกายได้ชัดเจนขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3865 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_011.pdf | 966.97 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น