กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3858
ชื่อเรื่อง: ผลของการให้สารประกอบฟีนอลิกที่สกัดจากสมุนไพรไทยต่อสมดุลแมกนีเซียม และการทำงานของลำไส้ในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley: เพื่อพัฒนาการรักษาทางเลือกในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of Thai herb-derived phenolic compound administration on magnesium metabolism and intestinal function in male Sprague-Dawley rats: The development of alternative treatment in long-term proton pump inhibitor administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ฤทธิ์ ทองอุ่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: สารประกอบ
สมุนไพรไทย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: Acid peptic disorders คือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอันเนื่องมาจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป รายงานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าประชาการหลายล้านคนทั่วโลก การรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยากลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (proton pump inhibitors; PPIs) จึงทำให้ยากลุ่ม PPIs นี้เป็นหนึ่งในยาที่ขายดีที่สุดทั่วโลก และมีผู้ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายล้านคนทั่วโลกเช่นกัน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จนปัจจุบันมีรายงานทางการแพทย์หลายฉบับบ่งชี้ผลข้างเคียงของการใช้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี ทาให้ระดับ Mg2+ ในกระแสเลือดต่าอย่างรุนแรง โดยสันนิฐานว่าน่าจะเกิดจากการดูดซึม Mg2+ ผิดปกติ จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าสารประกอบฟีนอลิกที่สกัดจากขิง (Zingiber officinale) มีฤทธิ์กดการทางานของ H+/K+ ATPase ในกระเพราะอาหาร และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า PPIs ทั้งนี้เบื้องต้นจากการศึกษาข้อมูลงานวิจัยก่อนหน้าผู้วิจัยพบว่ากลไกการยับยั้ง H+/K+ ATPase ของ PPIs และ สารประกอบฟีนอลิก นั้นแตกต่างกัน ดังนั้นการได้รับสารประกอบฟีนอลิกในระยะเวลานานอาจจะไม่มีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับที่พบใน PPIs ผลการทดลองพบว่าการให้ยา omeprazole ซึ่งเป็น PPIs และสารสกัด phenolic มีฤทธ์กดการหลั่งกรดในกระเพราะอาหารได้ทัดเทียมกัน และสารทั้งสองไม่มีผลต่อการบริโภคอาหาร และเติบโตของสัตว์ทดลอง omeprazole เพิ่มการดื่มน้ำและการขับปัสสาวะ แต่การได้รับ omeprazole ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ปริมาณ Mg2+ ในกระแสเลือดของหนูลดต่ำลงกว่าปกติจริง คล้ายคลึงกับที่พบเจอในมนุษย์ เมื่อศึกษาระดับ Mg2+ ในปัสสาวะก็พบว่ามีระดับต่ำเช่นเดียวกัน บ่งชี้ว่าไม่มีการสูญเสีย Mg2+ ในปัสสาวะ ทั้งนี้สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อสมดุล Mg2+ ในสัตว์ทดลอง สัตว์กลุ่มที่มีระดับ Mg2+ ต่ำยังมีระดับ Vitamin D และ FGF-23 ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น แต่มีระดับ EGF ในกระแสเลือดลดลง ทั้งนี้สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด เมื่อศึกษาการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้พบว่า omeprazole กดการดูดซึมMg2+ ในลาไส้ทุกส่วน แต่สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อการดูดซึมMg2+ ในลำไส้ เป็นการยืนยันสมมุติฐานงานวิจัยคือ สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อการทางานของลำไส้ แตกต่างจาก omeprazole ที่มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ผลการวิจัยของโครงการวิจัยนี้นำเสนอผลของ สารสกัด phenolic ที่มีฤทธ์กดการหลังกรดในกระเพราะอาหารได้ทัดเทียมกับ omeprazole แต่ไม่มีผลรบกวนสมดุล Mg2+ และการทำงานของลำไส้ต่อการดูดซึม Mg2+ เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยต่อยอด และพัฒนาสารสกัดธรรมชาติเพื่อใช้เป็นการรักษาทางเลือกในผู้ป่วยกลุ่ม chronic acid peptic disorders
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3858
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_004.pdf1.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น