กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3855
ชื่อเรื่อง: | การสร้างและผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับโปรตีนของ Fasciola gigantica ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อพัฒนาชุดตรวจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Construction and production of recombinant antibody against Excretory Secretory (ES) antigen of Fasciola gigantica in mammalian cells for diagnosis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นรินทร์ ช่างกลึงเหมาะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ชุดตรวจวินิจฉัยโรคสำเร็จรูป พยาธิ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | Glutathione peroxidases (GPx) เป็นเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่พยาธิ Fasciola spp. หลั่งออกมาเพื่อใช้ในการหลบหลีกและปกป้องตัวเองจากระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อ ในการศึกษานี้สร้างแอนติบอดีชนิด monoclonal antibody (MoAb) ชื่อว่า 7B8 จากหนูต่อโปรตีน glutathione peroxidase จากพยาธิ F. gigantica (rFgGPx) โดยการฉีดโปรตีน rFgGPx เข้าสู่บริเวณ subcutaneous ในหนูสายพันธุ์ BALB/c เพื่อให้หนูสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อ rFgGPx ด้วยเทคนิค hybridma จากเซลล์ที่เก็บจากม้ามของหนู แอนติบอดีที่สร้างขึ้นเป็นชนิด IgG1 ประกอบไปด้วย κ light chains เมื่อนำมาทำปฎิกิริยากับ rFgGPx ด้วยวิธี immunoblotting พบว่าสามารถจับได้อย่างจำเพาะที่ขนาด 19 kDa และเมื่อทดสอบความจำเพาะด้วยวิธี indirect ELISA กับ native FgGPx โปรตีนพบว่าสามารถทำปฎิกิริยากับ whole body (WB), metacercariae, newly excysted juveniles (NEJs), 4 week-old juveniles และ adult F. gigantica แต่ไม่ทาปฎิกิริยากับโปรตีนจากพยาธิโตเต็มวัยชนิดอื่นประกอบด้วย Fischoederius cobboldi, Paramphistomum cervi, Setaria labiato-papillosa, Eurytrema pancreaticum, Gastrothylax crumenifer และ Gigantocotyle explanatum จากนั้นนำ MoAb ต่อ rFgGPx ไปย้อมด้วยวิธี immunolocalization กับพยาธิ F. gigantica ตัวเต็มวัยพบว่าเกิดปฎิกิริยาการจับอย่างจำเพาะที่บริเวณ tegument, vitelline cells และ egg นอกจากนี้เมื่อนำ serum จากเลือดหนูที่ติดเชื้อ F. gigantica มาทดสอบด้วยวิธี ELISA พบว่าให้ผลเป็นบวกจากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าโปรตีน FgGPx มีการหลั่งออกมาในบริมาณมากโดยเฉพาะที่บริเวณ tegumental antigens (TA) ดังนั้น MoAb ต่อ rFgGPx จึงอาจนำไปใช้เพื่อวินิฉัยโรคโดยวิธี immunodiagnosis ในโรค fasciolosis ในมนุษย์และสัตว์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3855 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_006.pdf | 2.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น