กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3850
ชื่อเรื่อง: การศึกษาโปรติโอมิกส์จากใบกล้วยในกลุ่ม diploid triploid และ tetraploid
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of proteomics from banana leaves in diploid triploid and tetraploid
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บังอร ประจันบาล
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: กล้วย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: กล้วยที่มีความแตกต่างของจีโนมยังไม่เคยมีการรายงานเกี่ยวกับโปรตีน การศึกษาครั้งนี้จึงเปรียบเทียบรูปแบบของโปรตีนในใบกล้วยกลุ่ม ดิพลอยด์ ทริพลอยด์ และเตทตระพลอยด์ เพื่อบ่งชี้ความแตกต่างของโปรตีนที่สะสมในกล้วยแต่ละชนิด โดยตัวอย่างโปรตีนวิเคราะห์ด้วยวิธี shotgun proteomics พบโปรตีนทั้งหมดจำนวน 42,510 ชนิดที่วิเคราะห์ด้วย MaxQuant proteomics software โดยมีโปรตีนที่พบเหมือนกันของใบกล้วยในกลุ่มพลอยด์ ทริพลอยด์ และเตทตระพลอยด์แต่มีการแสดงออกของโปรตีนที่ไม่เท่ากันที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติ False discovery rate (FDR) น้อยกว่า 0.05 พบจำนวน 30 ชนิด นอกจากนี้กล้วยทั้ง 7 สายพันธุ์ที่มีความแตกต่างของยีนยังทำให้พบ ชนิดของโปรตีนในใบกล้วยที่จำเพาะแตกต่างกันของใบกล้วยในแต่ละสายพันธุ์ ที่มีค่านัยสาคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 คือ ใบกล้วยน้าไท (AA) ใบกล้วยตานี (BB) ใบกล้วยนาก (AAA) ใบกล้วยน้ำว้า(ABB) ใบกล้วยสามเดือน (AAB) ใบกล้วยหิน (BBB) และใบกล้วยเทพรส (ABBB) พบโปรตีนที่แสดงออก จำเพาะจำนวน 6 โปรตีน 11 โปรตีน 7 โปรตีน 8 โปรตีน 14 โปรตีน 9 โปรตีน และ 8 โปรตีนตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างของยีนอาจมีผลต่อการแสดงออกของโปรตีนและการทำหน้าที่แตกต่างกันของโปรตีนในใบกล้วยแต่ละสายพันธุ์ นอกจากนี้โปรตีนที่แสดงออกจำเพาะอาจนำไปพัฒนาเป็น molecular marker สำหรับกล้วยในแต่ละสายพันธุ์ได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3850
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_311.pdf6.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น