กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3847
ชื่อเรื่อง: การบ่งชี้และแยกยีน Ca2+/H+antipoter (CAX) ที่อ้อยใช้ตอบสนองต่อสภาพดินเค็ม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Identification and Isolation of Ca2+/H+antiporter (CAX) Gene, the Saline Responsive Gene in Sugarcane
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนากานต์ ลักษณะ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: ดินเค็ม
อ้อย - - การปลูก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: CAX (Vacuoles Ca2+/H+antipoter) เป็นยีนที่ควบคุมให้เกิดการสมดุลของ Ca2+ เมื่อพืชอยู่ในสภาวะเค็มหรือความแห้งแล้ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน CAX ในอ้อย 3 พันธุ์ พันธุ์การค้า KPS 94-13 อ้อยป่า (Saccharum sapontaneum) และอ้อยลูกผสมระหว่างอ้อยปลูกและอ้อยป่า (พันธุ์ไบโอเทค 2) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์พบว่ามี 12 ตำแหน่งที่แตกต่างกัน แต่กรดอะมิโนจะมีเพียง 4 ตาแหน่งเท่านั้นที่แตกต่างกัน ความแตกต่างกันของลำดับนิวคลีโอไทด์และกรดอะมิโนรวมทั้งระดับการแสดงออกของยีนอาจมีความเกี่ยวข้องกัน และอาจจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลชนิด gene targeted marker เพื่อใช้ช่วยคัดเลือกอ้อยที่ทนทานต่อดินเค็มได้ดังนั้นจึงทำการตรวจสอบการแสดงออกของยีนโดยการถ่ายยีนนี้เข้าสู่ต้นยาสูบแล้วตรวจสอบการแสดงออกของยีน เมื่อมีการตรวจสอบการแสดงออกของยีนในใบของต้นยาสูบที่ได้รับการถ่ายยีน ScCAX จากอ้อยทั้ง 3 สายพันธุ์ พบว่าพันธุ์ป่ามีการแสดงออกของยีนสูงกว่ายาสูบที่ไม่ได้รับการถ่ายยีน และต้นที่ได้รับการถ่ายยีน ScCAX จากอ้อยป่า มีการแสดงออกของยีนสูงที่สุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3847
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_341.pdf1.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น