กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3846
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิชมณี ยืนยงพุทธกาล | |
dc.contributor.author | พิชญอร ไหมสุทธิสกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-04-03T10:25:35Z | |
dc.date.available | 2020-04-03T10:25:35Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3846 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมี-กายภาพ สมบัติต้านออกซิเดชัน และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของสาหร่ายพวงองุ่น 2) เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมี-กายภาพ สมบัติต้านออกซิเดชันและปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ของเครื่องดื่มชาสมุนไพรสำเร็จรูปผสมสาหร่ายพวงองุ่น และ 3) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ที่ได้จากการวิจัยสาหร่ายพวงองุ่นตกเกรดจากจังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50.86 เยื่อใยร้อยละ 24.50±0.06 และโปรตีนร้อยละ 12.19±0.10 ปริมาณเกลือแร่ในสาหร่ายพวงองุ่นสดมีปริมาณเหล็กสูงถึง 41.3121±0.0401 mg/100 g (DW) ปริมาณไอโอดีนที่ 14.4000±0.4905 mg/100 g (DW) สังกะสีมีค่า 10.6102±0.0200 mg/100 g (DW) และทองแดงมีค่า 0.9010±0.0803 mg/100 g (DW) เมื่อพิจารณาสมบัติต้านออกซิเดชันในรูป DPPH method พบว่า สาหร่ายพวงองุ่นสดจากจังหวัดเพชรบุรีมีค่า DPPH activity ที่ความเข้มข้น 100 μg/100 mL มีค่า % inhibition เท่ากับ 65.19± 0.11 อัตราการอบแห้งสาหร่ายพวงองุ่นที่เหมาะสมคืออบแห้งที่ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง สาหร่ายพวงองุ่นแห้งมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55.93 รองลงมาคือเยื่อใยร้อยละ 20.89±0.02 และ โปรตีนร้อยละ 11.61 ±0.02 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับสาหร่ายพวงองุ่นสด ปริมาณเกลือ แร่ในสาหร่ายพวงองุ่น แห้งมีปริมาณ เหล็กสูง 41.3121±0.0401 mg/100 g (DW) ไอโอดีนมีค่า 1.4400±0.0143 mg/100 g (DW) สังกะสี มีค่า 10.9080±0.0214 mg/100 g (DW) และทองแดงมีค่า 0.9050±0.0035 mg/100 g (DW) สาหร่ายพวงองุ่นแห้งมีค่า water activity เท่ากับ 0.1983±0.0020 ตัวอย่างสาหร่ายพวงองุ่นอบแห้งนี้มีการปนเปื้อนโลหะหนักน้อยกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สาหร่ายพวงองุ่นแห้งมีค่า DPPH activity ที่ความเข้มข้น 100 μg/100 mL มีค่า % inhibition เท่ากับ 62.17± 0.19 สูตรที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเครื่องดื่มผงชาสมุนไพรสำเร็จรูปผสมสาหร่ายพวงองุ่นคือ สาหร่าย พวงองุ่น : ใบหม่อน : อบเชย : กลิ่นมะลิ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1 : 3 ผสมกับมอลโทเดกซ์ทรินร้อยละ 20 แล้ว นำปอบด้วยTray dry ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสประมาณ 1.30 ชั่วโมงจนแห้ง บดด้วยเครื่อง Blender แล้วกรองด้วยตะแกรง mesh ขนาด 100 บรรจุผงชาที่ได้ในถุงฟอยด์ ปิดผนึก เวลารับประทานสามารถ ละลายผงชาสำเร็จรูป 1 กรัมต่อน้ำร้อน 100 มิลลิลิตร จะได้น้ำชาที่มีรสชาติ และกลิ่นรส รวมทั้งสีที่เหมาะสม ในการรับประทาน ค่าสีของเครื่องดื่มชาผงสมุนไพรผสมสาหร่ายพวงองุ่นอยู่ในโทนสีแดงเหลือง เนื่องจากมีค่า hue angle เป็น 1.40 ค่าปริมาณน้ำอิสระของผงชาที่ได้มีค่า 0.19 มีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระได้ ดีกว่าชาอู่หลง มีความสามารถในการจับอิออนโลหะได้ดีกว่าชาอู่หลงแต่น้อยกว่าวิตามินซี แสดงถึง ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีของผงชาสมุนไพรผสมสาหร่ายพวงองุ่นสำเร็จรูป | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณ แผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สาหร่ายพวงองุ่น | th_TH |
dc.subject | เครื่องดื่มสมุนไพร | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การผลิตและวิเคราะห์คุณภาพชาสาหร่ายพวงองุ่น | th_TH |
dc.title.alternative | Production and analysis of Green Caviar tea | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | wich@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were 1) to study physico-chemical and oxidative properties including the total phenolic content of green Caviar 2) to study the physicochemical and oxidative properties including the total phenolic content of instant herbal tea drinks mixed with green Caviar and 3) to transfer technology and knowledge obtained from this research Low quality of green caviar from Phetchaburi Province was used to study in the experiment. The results showed that green caviar contained 50.86 percent of carbohydrates, 24.50 ±0.06 percent of fiber, and 12.19 ± 0.10 percent of protein. The amount of iron in fresh green caviar equaled 41.3121 ± 0.0401 mg / 100 g (DW), Iodine content equaled 14.4000 ± 0.4905 mg / 100 g (DW), zinc content equaled 10.6102 ± 0.0200 mg / 100 g (DW), and copper content equaled 0.9010 ± 0.0803 mg / 100 g (DW). The DPPH activity of fresh green caviar at concentrations of 100 μg / 100 mL exhibited % inhibition equaled 65.19 ± 0.11. The optimum drying rate for dried green caviar was drying at 60 degrees Celsius for 3 hours. Dried green caviar contained 55.93 percent carbohydrates, followed by 20.89 ± 0.02 percent crude fiber and 11.61 ± 0.02 percent protein which were significant differences (P <0.05) with fresh green caviar. The amount of minerals in dry green caviar had high iron content. 41.3121 ± 0.0401 mg / 100 g (DW), iodine equaled 1.4400 ± 0.0143 mg / 100 g (DW), zinc equaled 10.9080 ± 0.0214 mg / 100 g (DW) and copper equaled 0.9050 ± 0.0035 mg / 100 g (DW). Dried green caviar showed water activity equal to 0.1983 ± 0.0020. The dried samples of low quality green caviar contained less heavy metal contamination than the standard of the community product (Thai Agricultural Standard Program). The dried green caviar exhibited DPPH activity at a concentration of 100 μg / 100 mL with % inhibition equaled to 62.17 ± 0.19. The optimum formula for producing a ready-to-drink herbal tea powder mixed with green caviar was green caviar: Mulberry leaves: Cinnamon: Jasmine odor in the ratio of 1: 2: 1: 3, mixed with maltodextrin 20 percent. After that, drying in tray dry and crushed with Blender machine and sieved by using 100 mesh sizing. The tea powder was packed in the sealed aluminium foil bag. The tea powder was used to dissolve 1 gram of instant tea powder per 100 ml of hot water when drinking. The color value of instant tea powder was red-yellow tones regarding to the hue angle equaled 1.40. The water activity of the tea powder equaled 0.19. The instant tea exhibited the ability to scavenger free radicals better than Oolong tea. Moreover, the ability to chelate metal ions was better than Oolong tea, but less than vitamin C. The results indicated that the instant tea is the good antioxidant herbal tea powder. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_339.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น