กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3838
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ปรากฏการณ์เกาะความร้อนและก๊าชเรือนกระจกในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Urban Heat Island and Greenhouse effect in Eastern Seaboard Development of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราพร สร้อยทอง กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า สุชาติ ชายหาด นราธิป เพ่งพิศ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ก๊าชเรือนกระจก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนและวิเคราะห์ปรากฏการณ์เกาะความร้อน 3) ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและวิเคราะห์ปรากฏการณ์เรือนกระจก 4) ประเมินผลกระทบของปรากฏการณ์เกาะความร้อนและภาวะเรือนกระจก 5) สร้างแบบจำลอง ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์เกาะความร้อน สภาวะก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและการใช้ประโยชน์ที่ดิน 6) ศึกษาแนวทางการแก้ไขและวิธีป้องกันปรากฏการณ์เกาะ ความร้อนและสภาวะก๊าซเรือนกระจกพร้อมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการปรากฏการณ์เกาะความ ร้อนและสภาวะก๊าซเรือนกระจกจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งแบบปฐมภูมิคือการเก็บข้อมูลภาคสนาม และข้อมูลทุติยภูมิร่วมกับข้อมูล ทางกายภาพจากการศึกษาตามแผนภาพถ่ายดาวเทียมแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมทั้งเชิง คุณภาพและเชิงปริมาณโดยประยุกต์ร่วมกับเทคนิคทางภูมิศาสตร์สารสนเทศ โดยใช้ข้อมูลจาก ดาวเทียม Landsat 5, 8 และดาวเทียม GOSAT ในจังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด และสระแก้ว ผลการศึกษา พบว่า (1) จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวและปรากฏการณ์เกาะความร้อนในพื้นที่ภาคตะวันออกพบว่าอุณหภูมิพื้นผิวมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่เมืองและอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ ความแตกต่างของอุณหภูมิก่อให้เกิดสภาวะปรากฏการณ์เกาะความร้อน ในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับอุณหภูมิพื้นผิวและปรากฏการณ์เกาะความร้อน 5 จังหวัด คือ ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา (2) ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกพบว่า พื้นที่ภาคตะวันออกมีปริมาณก๊าซก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์กระจายตัวปกคลุมมากที่สุด ปี พ.ศ. 2552 คือพื้นที่บริเวณอำเภอสัตหีบกระจาย ออกมาถึงบางละมุง ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปี พ.ศ. 2557 คือ พื้นที่บริเวณกลางของภาคตะวันออก ได้แก่ พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และบริเวณเหนือของจังหวัดสระแก้ว ปีพ.ศ. 2562 พื้นที่ตอนเหนือของภาคตะวันออก ได้แก่ พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่บางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา และด้านตะวันตกของจังหวัดสระแก้ว และอำเภอเมืองจันทบุรี (3) จากความสัมพันธ์ดังกล่าวในพื้นที่ ภาคตะวันออกมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสร้างโครงสร้างสีเขียว เช่น การปลูก ต้นไม้ตามเกาะกลางถนน พื้นที่สีเขียวแนวตั้ง และอื่น ๆ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3838 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_314.pdf | 4.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น