กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3831
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิชมณี ยืนยงพุทธกาล | |
dc.contributor.author | ธีรารัตน์ อิทธิโสภณกุล | |
dc.contributor.author | นิสานารถ กระแสร์ชล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-03-31T04:05:03Z | |
dc.date.available | 2020-03-31T04:05:03Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3831 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการผลิตสาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือบรรจุขวด จากการศึกษาผลของการเตรียมขั้นต้นด้วยการลวกในน้ำ การแช่ในสารละลายแมกนีเซียมคาร์บอเนต และการลวกในสารละลายแมกนีเซียมคาร์บอเนตต่อสีของสาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือบรรจุขวด พบว่า หลังการเตรียมขั้นต้นทุกวิธีสามารถรักษาสีของสาหร่ายพวงองุ่นไว้ได้โดยมีค่า a* อยู่ในช่วง -4.62 ถึง -7.65 แต่เมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือบรรจุขวด พบว่า สาหร่ายพวงองุ่นทุกสิ่งทดลองมีสีเขียวมะกอก โดยมีค่า a* อยู่ในช่วง 1.28 ถึง 1.79 จากการศึกษาผลของความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (1% 4% และ 8%) และซิงก์อะซิเตท (0 ppm และ 75 ppm) ที่ใช้เตรียมสารละลายน้ำเกลือปรับกรดต่อคุณภาพของสาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือบรรจุขวดระหว่างการเก็บรักษา พบว่า มีอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยด้านความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์กับความเข้มข้นของซิงก์อะซิเตทต่อค่าสี L* a* b* และ E ของสาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือบรรจุขวด (p>0.05) แต่ไม่มีอิทธิพลร่วมต่อ ค่า pH และปริมาณกรดทั้งหมด (p>0.05) และพบว่าความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์มีผลต่อค่า aw และค่าความแน่นเนื้อ (p>0.05) การใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 4% และ8% ร่วมกับซิงก์อะซิเตท 75 ppm มีผลให้สาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือหลังการผลิตมีสีเขียวมากที่สุด (p>0.05) โดยมีค่าสี a* อยู่ในช่วง -1.58 ถึง -1.81 แต่เมื่อเก็บรักษาตั้งแต่ 1- 5 สัปดาห์ พบว่า สาหร่ายพวงองุ่นมีสีเขียวมะกอก โดยมีค่าสี a* อยู่ในช่วง 1.25 ถึง 1.75 อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ทุกสิ่งทดลองมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า ผลิตภัณฑ์สาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือบรรจุขวดที่ใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ 8% ร่วมกับซิงก์อะซิเตท 75 ppm มีปริมาณความชื้นโปรตีน ไขมัน กากใยหยาบเถ้า สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดน้อยกว่าสาหร่ายพวงองุ่นสด (p>0.05) | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะ กรรมการการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สาหร่ายพวงองุ่น | th_TH |
dc.subject | กระบวนการผลิต | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การพัฒนากระบวนการผลิตสาหร่ายพวงองุ่นในน้ำเกลือบรรจุขวด | th_TH |
dc.title.alternative | Process development of bottled Green Caviar in brine | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | nisanart@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | wich@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | teerarat@swu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The main objective of this research was to study the production of bottled Green Caviar ( Caulerpa lentillifera) in brine. Effect of pretreatments as following; water blanching, magnesium carbonate soaking and magnesium carbonate blanching on color of bottled Green Caviar in brine were studied. Green Caviar after took all pretreatments able to maintain the color with a* value in the range of -4.62 to -7.65. Further processing for bottled Green Caviar in brine product made all treatments appeared olive green color with a* value in the range of 1.28 to 1.79. The effects of sodium chloride concentrations (1% 4% and 8%) and zinc acetate (0 ppm and 75 ppm) used for acidsaline solution preparation on the quality of Green Caviar in brine during storage were evaluated. The interaction effect of sodium chloride concentration and zinc acetate concentration on color value L* a* b* and ΔE of bottled Green Caviar in brine were observed (p≤ 0.05), whereas there was no interaction effect on pH and total acidity content (p> 0.05). It was found that the concentration of sodium chloride effect on aw and firmness value (p≤ 0.05). The application of 4% and 8% sodium chloride concentrations combined with 75 ppm zinc acetate resulted highest green color of Green Caviar in the brine product (p≤0.05) with a * color value in the range of -1.58 to - 1.81. The product stored for 1-5 weeks showed the olive green color with a* value in the range of 1.25 to 1.75. However, all products are safe for consumption. The results of chemical composition analysis showed that the bottled Green Caviar in brine using 8% sodium chloride combined with 75 ppm zinc acetate had the content of moisture, protein, fat, crude fiber, ash, antioxidant properties and total phenolic content less than fresh Green Caviar (p0.05). | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_340.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น