กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3813
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์เมมเบรนคอมโพสิทของเหล็กบนตัวรองรับซีโอไลต์ฟูจาไซต์กับโพลีเอไมด์แผ่นบางสำหรับการดูดซับสารไกลโฟเซต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Synthesis of iron loaded zeolite Faujasite – polyamide thin film composite membrane for glyphosate adsorption
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรสุรางค์ โสภิพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ชานอ้อย
ชีวมวล
ซิลิกา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาผลของวัสดุเหล็กบนตัวรองรับซีโอไลต์ฟูจาไซต์ต่อประสิทธิภาพการดูดซับสารละลายไกลโฟเซต โดยซีโอไลต์ฟูจาไซต์ 2 ชนิด ได้แก่ ซีโอไลต์โซเดียมเอกซ์ (NaX) และซีโอไลต์โซเดียมวาย (NaY) ซึ่งทำการสังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัลโดยใช้ซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยเป็นสารตั้งต้น จากนั้นทำการเติมเหล็ก (Fe) ลงบนซีโอไลต์ทั้งสองชนิดปริมาณ 1 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์โดยมวลด้วยวิธีการเอิบชุ่ม เอกลักษณ์ทางโครงสร้างและธาตุองค์ประกอบของวัสดุดูดซับที่เตรียมได้วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์และเทคนิคฟลูออเรสเซนต์ พื้นที่ผิวของวัสดุดูดซับวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวัดไอโซเทอร์มการดูดซับไนโตรเจน โครงสร้างอสัณฐานของวัสดุดูดซับตรวจวัดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิดฟิลด์อิมิสชันและค่าพีเอชที่ประจุพื้นผิววัสดุดูดซับเป็นศูนย์วิเคราะห์ด้วยวิธี pH Drift method โดยวัสดุเหล็กบนซีโอไลต์โซเดียมเอกซ์ (xFe/NaX) และวัสดุเหล็กบนซีโอไลต์โซเดียมวาย (xFe/NaY) ใช้เป็นวัสดุดูดซับสารละลายไกลโฟ โดยทำการวิเคราะห์ ปริมาณไกลโฟเซตด้วยวิธีคัลเลอรีเมตรีและวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโตรสโคปี จากการทดลองพบว่า ซีโอไลต์ NaX มีประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซตสูงกว่าซีโอไลต์ NaY เนื่องจากประจุบวกบนพื้นผิวหน้า NaX ที่สามารถดึงดูดกับประจุลบของโมเลกุลไกลโฟเซต เมื่อทำการเติมเหล็กลงบนซีโอไลต์ทั้งสองชนิดพบว่าพื้นที่ผิวหน้า ปริมาตรรูพรุน และค่าพีเอชที่ประจุพื้นผิววัสดุดูดซับเป็นศูนย์มีค่าลดลง โดย xFe/NaX มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารละลายไกลโฟเซตไม่แตกต่างกันเมื่อปริมาณโลหะเหล็กเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามกันสำหรับ xFe/NaY ประสิทธิภาพในการดูดซับสารละลายไกลโฟเซตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อปริมาณโลหะเหล็กเพิ่มขึ้น จากการศึกษาไอโซเทอร์มการดูดซับของเหล็กลงบนซีโอไลต์ทั้งสองพบว่าเป็นแบบฟรอยลิช โดย 5Fe/NaY มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด มีค่าขีดความสามารถในการดูดซับไกลโฟเซต (KF =) สูงที่สุด เกิดการดูดซับเป็นแบบหลายชั้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3813
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_329.pdf1.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น