กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3808
ชื่อเรื่อง: การผลิตต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อลดการติดเชื้อ Phytophthora palmivora โดยวิธีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะชาด้วยระบบควบคุมฟัซซี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production of Durian Seedling cv. Monthong with Reducing Phytophthora palmivora Infections by Controlling Temperature and Relative Humidity in Nursery using Fuzzy Control Systems
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมิตร คุณเจตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: เชื้อรา
ทุเรียน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: เชื้อรา Phytophthora palmivora เป็นเชื้อสาเหตุของการเกิดโรคกับทุเรียน เป็นเชื้อราที่อยู่ในดินและพบแพร่กระจายในน้ำและอากาศ สามารถเข้าทำลาย ต้นทุเรียนได้ทุกระยะการเจริญเติบโต งานวิจัยนี้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 พัฒนาระบบควบคุมสภาพอากาศในโรงเรือนอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถควบอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนให้อยู่ในสภาวะที่กำหนดได้ โดยทำการออกแบบการทำความความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำ ร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ ออกแบบระบบควบคุมฟัซซี่ โดยการโปรแกรมลงบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เซ็นเซอร์อุณหภูมิ จากผลการทดลองพบว่า การควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือนด้วยระบบควบคุมฟัซซี่สามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ค่อนข้างคงที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การควบคุมอุณหภูมิภายโรงเรือนยังมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศภายนอกโรงเรือน มีค่าเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียส การทดลองที่ 2 ทำการปลูกเชื้อรา P. palmivora ลงบนต้นกล้าทุเรียน ที่อยู่ในระยะเพสลาด นำใบเพสลาดที่แสดงอาการใบไหม้มาทำการแยกเชื้อด้วยวิธี Tissue transplanting method หลังจากนั้นนำใบจากต้นกล้าทุเรียนที่อยู่ในระยะเพสลาดมาทำการปลูกเชื้อรา P. palmivora ลงบนใบทุเรียน แล้วนำไปวางในกล่องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในห้องปฏิบัติการ ตรวจดูอาการเกิดโรคใบไหม้ ผลการทดลองพบว่า ต้นทุเรียนที่อยู่ในโรงเรือนทั้งที่ควบคุมและไม่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนทุกกรรมวิธี ไม่พบใบที่แสดงอาการใบไหม้ และ Sporangium ของเชื้อ แต่การทดลองในห้องปฏิบัติการใบทุเรียนจะแสดงอาการของโรคใบไหม้ เมื่ออุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80 และ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ใบทุเรียนมีอาการใบแห้ง แต่ไม่แสดงอาการเกิดโรค ดังนั้นอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเพาะชาต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา P. palmivora อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคใบไหม้ในต้นกล้าทุเรียน คือ อุณหภูมิสูงกว่า30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3808
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_303.pdf1.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น