กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3808
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุมิตร คุณเจตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned2020-03-27T02:43:47Z
dc.date.available2020-03-27T02:43:47Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3808
dc.description.abstractเชื้อรา Phytophthora palmivora เป็นเชื้อสาเหตุของการเกิดโรคกับทุเรียน เป็นเชื้อราที่อยู่ในดินและพบแพร่กระจายในน้ำและอากาศ สามารถเข้าทำลาย ต้นทุเรียนได้ทุกระยะการเจริญเติบโต งานวิจัยนี้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 พัฒนาระบบควบคุมสภาพอากาศในโรงเรือนอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถควบอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนให้อยู่ในสภาวะที่กำหนดได้ โดยทำการออกแบบการทำความความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำ ร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ ออกแบบระบบควบคุมฟัซซี่ โดยการโปรแกรมลงบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เซ็นเซอร์อุณหภูมิ จากผลการทดลองพบว่า การควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือนด้วยระบบควบคุมฟัซซี่สามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ค่อนข้างคงที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การควบคุมอุณหภูมิภายโรงเรือนยังมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศภายนอกโรงเรือน มีค่าเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียส การทดลองที่ 2 ทำการปลูกเชื้อรา P. palmivora ลงบนต้นกล้าทุเรียน ที่อยู่ในระยะเพสลาด นำใบเพสลาดที่แสดงอาการใบไหม้มาทำการแยกเชื้อด้วยวิธี Tissue transplanting method หลังจากนั้นนำใบจากต้นกล้าทุเรียนที่อยู่ในระยะเพสลาดมาทำการปลูกเชื้อรา P. palmivora ลงบนใบทุเรียน แล้วนำไปวางในกล่องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในห้องปฏิบัติการ ตรวจดูอาการเกิดโรคใบไหม้ ผลการทดลองพบว่า ต้นทุเรียนที่อยู่ในโรงเรือนทั้งที่ควบคุมและไม่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนทุกกรรมวิธี ไม่พบใบที่แสดงอาการใบไหม้ และ Sporangium ของเชื้อ แต่การทดลองในห้องปฏิบัติการใบทุเรียนจะแสดงอาการของโรคใบไหม้ เมื่ออุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80 และ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ใบทุเรียนมีอาการใบแห้ง แต่ไม่แสดงอาการเกิดโรค ดังนั้นอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนเพาะชาต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา P. palmivora อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคใบไหม้ในต้นกล้าทุเรียน คือ อุณหภูมิสูงกว่า30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectเชื้อราth_TH
dc.subjectทุเรียนth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการผลิตต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อลดการติดเชื้อ Phytophthora palmivora โดยวิธีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะชาด้วยระบบควบคุมฟัซซี่th_TH
dc.title.alternativeProduction of Durian Seedling cv. Monthong with Reducing Phytophthora palmivora Infections by Controlling Temperature and Relative Humidity in Nursery using Fuzzy Control Systemsen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativePhytophthora palmivora is the most important diseases in durian plant which can be spreaded in soil, water and air. It can be damaged all stage of durian growth. The experiment was separated into 2 parts : 1) Development of automatic control system of temperature and relative humidity in the greenhouse with an evaporative cooling system and spraying system was conducted. The design of fuzzy system was programmed for controller, an analog input device for receive analog signs signals from temperature and relative humidity sensors. The results showed that the fuzzy control system can be maintained relative humidity throughout the experiment at 100 percentages whereas temperature in the greenhouse was exchanged followed by the outside greenhouse temperature at 25- 35 degrees Celsius. 2) The mature leave of durian seedling was infected with P. palmivora for 10 days in the greenhouse Detection of fungal on the leaves was conducted by Tissue transplanting method. Then, the mature leave from durian seedling was infected with P. palmivora and put in the chamber in the laboratory which can be controlled temperature and relative humidity. The results showed that no symptom of the leaves all treatments and no sporangia production were observed from this fungal in the greenhouse. Whereas the learves in the chamber at temperature 25 degrees Celsius and relative humidity 80- 90 percentages were appeared symptom of the fungal in the learves. However, the leaves in the chamber at temperature more than 30 degrees Celsius and relative humidity less than 80 percentages were found dry leaves symptom but they were not appeared symptom of the fungal in the learves. Then, this weather conditions may be reduce Phytophthora palmivora infections in the durian seedling in the nursery.en
dc.keywordระบบควบคุมฟัซซี่th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_303.pdf1.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น