กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3806
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอรอง จันทร์ประสาทสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2020-03-16T07:10:50Z
dc.date.available2020-03-16T07:10:50Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3806
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพเคมีและสมบัติของการเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเนื้อผลสับปะรดพันธุ์ปลูกของ สายพันธุ์ MD2 ปัตตาเวีย (ศรีราชา) และควีน (ตราดสีทอง) ที่นิยมบริโภคในเขตภาคตะวันออก โดยตัวอย่างผลสับปะรดจะอยู่ในระยะเก็บเกี่ยว ทำการบันทึกน้ำหนัก ความยาว และเส้นรอบวง นำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ปอกเปลือก วัดค่าสีและองค์ประกอบ ทางเคมีพื้นฐานของเนื้อสับปะรด แล้วนำเนื้อสับปะรดมาคั้นน้ำ จากนั้นวิเคระห์หาปริมาณน้ำตาล กรดอินทรีย์ คุณค่าทางโภชนาการ และสมบัติของการเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากผลการทดลองพบว่า น้ำหนัก ความยาวและความยาวเส้นรอบวงเฉลี่ยของผลสับปะรดพันธุ์ควีนมีค่าต่ำสุด และลักษณะทางกายภาพของผลสับปะรดพันธุ์ MD2 และ ปัตตาเวีย มีค่าที่ใกล้เคียงกัน สีของเนื้อผลสับปะรดสายพันธุ์ MD2 มีสีเหลืองเข้มใกล้เคียงกับสีของเนื้อผลสับปะรดพันธุ์ควีนในขณะที่เนื้อผลของสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมีสีเหลืองซีด จากผลวิเคระห์องค์ประกอบทางเคมีพื้นฐานของเนื้อผลสับปะรด พบว่าเนื้อผลสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมีปริมาณความชื้นสูงสุดและมีองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไขมัน โปรตีน เยื่อใย คาร์โบไฮเดรต และพลังงาน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และพบว่าปริมาณน้ำตาลซูโครส มีมากกว่าน้ำตาลฟรุกโตสและกลูโคสประมาณ 2-5 เท่าขึ้นกับชนิดของสายพันธุ์ และสับปะรดที่มีปริมาณน้ำตาล รวมสูงสุด ได้แก่ สายพันธุ์ MD2 และพบว่ากรดซิตริกเป็นกรดอินทรีย์หลักที่มีปริมาณสูงสุดของน้ำสับปะรดทั้ง 3 สายพันธุ์สับปะรดพันธุ์ MD2 เป็นสายพันธุ์ที่มีปริมาณวิตามินซีสูงสุดและมีปริมาณวิตามินซีมากกว่าสายพันธุ์ปัตตาเวียประมาณ 7 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าสับปะรดพันธุ์ MD2 มีค่า TPC FRAP เปอร์เซ็นต์การยับยั้งสารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงสุดด้วย สำหรับผลกิจกรรมของเอนไซม์โบรมิเลน พบว่า น้ำสับปะรดพันธุ์ควีนมีกิจกรรมของเอนไซม์โบรมิเลนสูงสุด ผลการทดลองที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกใช้ประโยชน์จากเนื้อผลสับปะรดทั้ง 3 สายพันธุ์สำหรับประยุกต์ใช้ทาง อาหารและยารักษาโรคได้th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยบูรพาผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสับปะรดth_TH
dc.subjectสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมีจำเพาะของเนื้อผลสับปะรดth_TH
dc.title.alternativeCharacterization of specific physico-chemical properties of pineapple (Ananas comosus (L.) Merr.) fleshen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailon_ong@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is for studying the physicochemical and bioactive properties of 3 pineapple varieties, namely MD2, Pattawia (Sriracha) and Queen (Tradsritong) which popular cultivated in the eastern part of Thailand. Each variety of harvesting stage pineapple fruits were randomly collected. The pineapple fruits weight, length and circumference were measured. After washing and cleaning, the pineapple flesh color and proximal components were determined. The pineapple flesh was crushed, then the sugars, organic acid contents, nutritional values, and bioactive properties of fresh crushed juices were analyzed. The results indicated that the average fruits weight, length and circumference values of Queen variety were lowest. The physical aspects of MD2 and Pattawia varieties were generally similar. The color of MD2 and Queen pineapple fleshes was deep yellow similarity, but the color of Pattawia pineapple flesh was pale yellow. Based on their proximal analysis, the moisture content of Pattawia pineapple flesh was highest, whereas the fat, protein, ash, fiber, carbohydrate and energy contents of all varieties were also significant different (P<0.05). The finding showed that sucrose sugar was higher than fructose and glucose contents for 2-5 times depending on the variety. The MD2 pineapple had the highest total sugar contents. Citric acid was the main organic acid found on all varieties. The MD2 variety had the highest vitamin C content which was 7 times higher than those of Pattawia variety. In addition, TPC, FRAP, %inhibition and beta-carotene contents of MD2 variety were highest values. For Bromelain enzyme activity, the results showed that Queen variety had the highest activity. These results could be used for the exploitation of 3 pineapple varieties to food and drug applications.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_302.pdf3.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น