กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3805
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอรอง จันทร์ประสาทสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2020-03-16T06:42:21Z
dc.date.available2020-03-16T06:42:21Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3805
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อคัดแยกและจัดจำแนกราและยีสต์จากลูกแป้งซึ่งเป็นกล้าเชื้อธรรมชาติท้องถิ่นที่ใช้สำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวหมักต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อนำมาพัฒนาเป็นกล้าเชื้อบริสุทธิ์สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวหมัก โดยนำลูกแป้งจากตลาดศรีราชาและหนองมน จังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มาเพาะเลี้ยงลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ จากผลการทดลองพบว่า MS1 และ MN1 เป็นประชากรหลักของลูกแป้งจากตลาดศรีราชาและหนองมน โดยมีจำนวนประชากรเท่ากับ 7.82 และ 5.91 log cfu/g ตามลำดับ และพบว่า YN1 เป็นยีสต์หลักของลูกแป้งจากตลาดหนองมน โดยมีจำนวนประชากรเท่ากับ 5.83 log cfu/g และไม่พบยีสต์ในลูกแป้งจากตลาดศรีราชา จากการทดสอบความสามารถของการย่อยแป้งบน starch agar และปลายข้าวเหนียวนึ่งสุก พบว่า MS1 มีความสามารถย่อยแป้งสูงสุดบน starch agar ในขณะที่ไม่สามารถตรวจสอบ ผลการทดลองของ MN1 ได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งรา MS1 และ MN1 สามารถย่อยปลายข้าวเหนียวนึ่งสุกได้จากผลการจัดจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยาของราเบื้องต้น พบว่า MN1 อาจเป็น Amylomyces และ ยีสต์ YN1 ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นกล้าเชื้อบริสุทธิ์สำหรับการหมักแอลกอฮอล์ จากผลการทดลองพบว่าการหมักไวน์ข้าวด้วย YN1 นาน 5 วัน สามารถผลิตปริมาณแอลกอฮอล์ได้เท่ากับ 7.1%(v/v)th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectราth_TH
dc.subjectยีสต์th_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.subjectจุลินทรีย์
dc.subjectข้าวหมัก
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.titleการคัดแยกและจำแนกจุลินทรีย์จากลูกแป้งเป็นกล้าเชื้อสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวหมักth_TH
dc.title.alternativeIsolation and identification of microbial from Loog-pang as starter cultures for production of fermented rice productsen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailon_ong@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to isolate and primarily identify the indigenous molds and yeasts associated with Look-pang, the traditional rice cake starter culture of Thai rice mash and wine products, to develop as pure cultures for fermented rice products. Look-pang samples were collected from two local areas, Sriracha (S) and Nongmon (N), in Chonburi province, which is located in the eastern part of Thailand. The culturation of molds and yeasts conducted in synthetic media indicated that mold MS1 and MN1 were the main population of Look-pang from S and N which was 7.82 and 5.91 log cfu/g respectively. YN1 was the main yeast found from N which was 5.83 log cfu/g and no yeast has been detected from S. Their potencies of saccharification were evaluated by starch agar and steamed broken glutinous rice saccharification tests. MS1 showed the highest efficiency of saccharification in starch agar, while MN1 could not be detected. However, both of MS1 and MN1 could saccharify steamed broken glutinous rice. Based on the results of primary filamentous morphology properties, MN1 could be Amylomyces mold. YN1 has been used as pure yeast starter culture for the alcoholic fermentation. The results showed that YN1 could produce alcohol content to 7.1 %(v/v) in day 5 of rice wine fermentation.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_301.pdf4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น