กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/38
ชื่อเรื่อง: คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of sleep and factors disturbing sleep in chronic hemodialysis patients in government hospitals, Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงษ์พันธ์ จันทฑีโร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพการนอนหลับ
การนอนหลับ
การพักผ่อน
ไตวายเรื้อรัง
ไต - - โรค
ไตวายเรื้อรัง - - การรักษา
ไตวายเรื้อรัง - - ผู้ป่วย - - การดูแล
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ 3 ชุด ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับที่แปลและดัดแปลงมาจากดัชนีคุณภาพการนอนหลับของพิทท์ซเบิร์ก (The Pittsburgh Sleep Quality index: PSQI) โดยตะวันชัย จิระประมุขพิทักษ์และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์ (2540) แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับที่ผู้วิจัยสรา้งซึ่งซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงกันของผู้ทรงคุณวุฒิเท่ากับ .81 และดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .81 นำแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับไปทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีทดสอบซ้ำได้ค่าสัมประสิทธิ์ของความคงที่เท่ากับ .85 และใช้วิธีสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคทดสอบแบบสัมภาษณ์ ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับได้ค่าเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับมีการกระจายไม่เป็นโค้งปกติจึงใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนทดสอบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า: 1. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ : 62.2 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีและร้อยละ 37.8 มีคุณภาพการนอนหลับดีตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิทท์ซเบิร์ก 2. ปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่รบกวนการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่างที่มากที่สุดนั้นพบว่า ด้านร่างกายคือ อาการเจ็บหรือปวดตามร่างกาย ด้านจิตสังคมคืออารมณ์ซึมเศร้า รู้สึกเบื่อหน่าย และด้านสิ่งแวดล้อมคืออุณหภูมิอากาศร้อนหรืออากาศหนาวเย็นในพื้นที่ที่นอนหลับ 3. ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับด้านร่างกายมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ ด้านจิตสัมคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนเท่ากับ .389 และ .260 ตามลำดับ ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับด้าสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับคะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนเท่ากับ .205 (คะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับที่มีค่ามากจะมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/38
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2550_01.pdf5.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น