กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/38
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพงษ์พันธ์ จันทฑีโร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/38
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ 3 ชุด ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับที่แปลและดัดแปลงมาจากดัชนีคุณภาพการนอนหลับของพิทท์ซเบิร์ก (The Pittsburgh Sleep Quality index: PSQI) โดยตะวันชัย จิระประมุขพิทักษ์และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์ (2540) แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับที่ผู้วิจัยสรา้งซึ่งซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงกันของผู้ทรงคุณวุฒิเท่ากับ .81 และดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .81 นำแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับไปทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีทดสอบซ้ำได้ค่าสัมประสิทธิ์ของความคงที่เท่ากับ .85 และใช้วิธีสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคทดสอบแบบสัมภาษณ์ ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับได้ค่าเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับมีการกระจายไม่เป็นโค้งปกติจึงใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนทดสอบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า: 1. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ : 62.2 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีและร้อยละ 37.8 มีคุณภาพการนอนหลับดีตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิทท์ซเบิร์ก 2. ปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่รบกวนการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่างที่มากที่สุดนั้นพบว่า ด้านร่างกายคือ อาการเจ็บหรือปวดตามร่างกาย ด้านจิตสังคมคืออารมณ์ซึมเศร้า รู้สึกเบื่อหน่าย และด้านสิ่งแวดล้อมคืออุณหภูมิอากาศร้อนหรืออากาศหนาวเย็นในพื้นที่ที่นอนหลับ 3. ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับด้านร่างกายมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ ด้านจิตสัมคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนเท่ากับ .389 และ .260 ตามลำดับ ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับด้าสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับคะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนเท่ากับ .205 (คะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับที่มีค่ามากจะมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี)th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทอุดหนุนทั่วไป งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2549en
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณภาพการนอนหลับth_TH
dc.subjectการนอนหลับth_TH
dc.subjectการพักผ่อนth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรังth_TH
dc.subjectไต - - โรคth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรัง - - การรักษาth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรัง - - ผู้ป่วย - - การดูแลth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeQuality of sleep and factors disturbing sleep in chronic hemodialysis patients in government hospitals, Chonburi provinceen
dc.typeResearch
dc.year2550
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study relationships between the quality of sleep, factors disturbing sleep among the choronic hemodialysis patients in government hospitals, Chonburi province. Simple random sampling technique was used to select 90 subjects during April to June 2007. The research instruments used for data collections were interview form of 3 parts: the Demorgraphic Data Record and Health Data Record form, The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) by Tawanchai Jirapramukpitak and Waran Tanchaiswad (1997) with using Test-retest reliabilities method the value of coefficient of stability is .85, the Factors Disturbing Sleep Assessment From developed by the researcher which approved by the panel of experts with the values of interrater agreement of .81 and the values of content validilty index obtained .81. The reliability of the assessment form were obtained by Cronbach's alpha coefficient with the value of .87. Descriptive statistics was used to analyze data in tern of frequency, percentage, mean and standard deviation. Since the Quality of sleep (PSQI score) was not normal distribution curve, Sperman's rank correlation was used to analyze the data. The major finding were as follows: 1. There were 62.2% of subjects having a poor quality of sleep and rest of them, 37.8% had good quality of sleep were classificated by The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) criteria. 2. The various factor fisturbing sleep at the most for physical domain was body pain, for psychosocial domain was depression and boring mood, and environmental domain was temperature, too hot or cool in sleeping area. 3. The physical domain of factor disturbing sleep influences was positively related as moderate level to PSQI score, environmental domain was positively related as low level to PSQI score with the Spearman's rank correlation coefficients of .389 and .260, respectively (p<.01). the environmental domain of factor disturbing sleep influences was positively related as low level to PSQI score with the Sperman's rank correlation coefficients of .205 (p<.05) (PSQI score too high is meaning to poor quality of sleep)en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2550_01.pdf5.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น