กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/37
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวสุธร ตันวัฒนกุลth
dc.contributor.authorพิศมัย เสรีขจรกิจเจริญth
dc.contributor.authorพิศจุไร ปานทิพย์th
dc.contributor.authorกิตติพงศ์ สอนภูth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:43Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:43Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/37
dc.description.abstractการศึกษาศัยภาพการเฝ้าระวังและการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอุบัติภัยจราจรบนถนนในจังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และจำแนกระบบรายงานขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และออกแบบระบบการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุภัยจราจรบนท้องถนน ที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ ความพึงพอใจ และระบบรายงานที่มีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติภัยทางจราจรในจังหวัดระยอง โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อค้นหาข้อมูลเบื้องต้น (Exploratory Research) ประกอบกับกระบวนการประชุมกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) เพื่อตรวจสอบ ยืนยัน ข้อมูลตามสถานการณ์จริงในจุดเสียงที่มีปัญหาอุบัติเหตุจราจรมากที่สุด 20 อันดับแรก บนถนนสายหลักสาย 3, 36 และ 344 และถนนสายรอง สาย 3191 ในเขตจังหวัดระยอง ในช่วงปี พ.ศ. 2547-2549 กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุจราจร อาสาสมัครมูลนิธิต่าง ๆ องค์กรภาคเอกชน กลุ่มองค์กรชุมชน และตัวแทนประชาชนทั่วไป ผลการศึกษา พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอุบัติเหตุจราจร ได้พยายามสร้งกลไกในการแก้ไข ปัญหาอุบัติเหตุจราจร และเตรียมการรองรับอุบัติเหตุจราจรตามขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของหน่วยงานอย่างเต็มความสามารถ แต่ยังขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างบูรณาการ หรือในบางกรณีเกิดความเข้าใจผิดในบทบาทหน้าที่ระหว่างหน่วยงาน และมีการเชื่อมต่อกับภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่นค่อนข้างน้อย จึงทำให้เป็นช่องว่างในการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร จากสถานการณ์ที่พบจากการศึกษาเบื้องต้น จึงนำไปสู่กระบวนการออกแบบระบบการประสานงานเฝ้าระวังการเกิดอุบัติภัยจราจรบทท้องถนน โดยผลการศึกษาสรุปได้ว่า รูปแบบ แนวทาง ในการประสานเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน อาสาสมัครต่าง ๆ และภาคประชาชน จำเป้นต้องให้ทุดส่วนได้เข้าใจบทบาท หน้าที่ ของกันและกัน และให้มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานหลัก ที่ทุกหน่วยยอมรับ โดยแบ่งการประสานเครือข่ายออกเป็น รูปแบบการประสานเครือข่ายก่อนและหลังการเกิดเหตุ และรูปแบบการประสานเครือข่ายระหว่างเกิดเหตุ และใช้กระบวนการเชื่อมต่อเครือข่าย ดดยการประชาสัมพันธ์ผ่านคลื่นวิทยุ และติดต่อสื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์หรือระบบวิทยุสื่อสาร และใช้ฐานข้อมูลร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีการซักซ้อมความเข้าใจและติดตามการประสานเครือข่ายด้วยการจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในเครือข่าย ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการเครือข่ายและพัฒนาเครือข่ายก้าวหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง จากการวิจัย มีข้อเสนอแนะให้สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้บริเวณจุดเสี่ยงต่าง ๆ ได้มีบทบาทร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการกำหนดรูปแบบ ระบบ การประสานงานเครือข่ายการแก้ไขปัญหาและการเฝ้าระวังปัญหาอุบัตเหตุจราจรที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีเงื่อนไขการดำเนินการที่แตกต่างกันและสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีบทบาทในการแจ้งข่าวสารแก่หน่วยงานต่าง ๆ ให้มากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในท้องถนน - - ระยอง - - วิจัยth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน - - ระยอง - - วิจัยth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน - - การป้องกันและควบคุม - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleศักยภาพการเฝ้าระวังและการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติภัยจราจรบนท้องถนนในจังหวัดระยองth_TH
dc.title.alternativeThe surveillance potential and model development for road traffic accident surveillance in Rayong provinceen
dc.typeResearch
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeRoad traffic accident is serious problems in every area. This study aimed to analyze the role of various organizations about road traffic and to design the surveillance system of road traffic accident. The study areas were 20 high risks of highway road number 3, 36, 344 and sub-highway road number 3191 of Rayong Province. The study of an exploratory design, was conducted and verified by focus groups with various groups of road traffic stakeholders during 2004-2006. Content analysis was used for data analysis. The results indicated that each organization which related to road traffic tried to plan and organize the strategies to solve the road traffic accident. However, the coordination between each organization was least action and least of coordination with people and communites. Some strategies of coordination between various organizations, volunteers, and people should be started as the network. Each organization must understand the roles and functions of other organizations. There should have the core organization of the nwtwork which was accrpted from other organizations. The coordination system were divided into 2 structures; the structure of before or after accident and during accident. The process of coordination in the system were used public relation networks, telephones or radio communications, and internet systems. The monthly meeting and conference of the network members were very inportant to follow up, evaluation, exchange the experience and planning for the new activities. Recommendation is that there should encourage the local organizations and people at the risk areas to participate in planning the processes of solving the road accident, setting the surveillance network system which was suitable with each area, and sending the information to the related organizations or networking continuously.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf367.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter1.pdf289.35 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter2.pdf3.32 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter3.pdf760.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4.pdf2.04 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter5.pdf874.61 kBAdobe PDFดู/เปิด
bibliography.pdf172.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
appendix-biodata.pdf940.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น