กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3796
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาตราสินค้าการท่องเที่ยวเกาะสีชังตามแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sichang Island’s Destination Brand Development Regarding the Concepts of Thinness Tourism Promotion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รชฏ จันทร์น้อย มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เกาะสีชัง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี ด้วยความโดดเด่นด้านทัศนียภาพ ประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ กิจกรรม แหล่งท่องเที่ยว ที่สําคัญ อาทิ พระจุฑา-ธุชราชฐาน (ท่าวัง) ที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ เกาะสีชังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาให้มีความโดดเด่น มีชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี หากมีการสร้างตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเครื่องมือสําคัญในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู ้และดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะทําการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ความคาดหวัง ความต้องการ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวรวมทั้งข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของเกาะสีชัง เพื่อพัฒนาตราสินค้าการท่องเที่ยวของเกาะสีชังตลอดจนจัดทําแผนปฏิบัติการในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทยของเกาะสีชัง การวิจัยครั้งนี้ ผสานระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต (Observe) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เพื่อสกัดองค์ประกอบตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวของเกาะสีชัง แล้วจัดทําแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จํานวน 450 คน และประชาชนในพื้นที่ จํานวน 420 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่าน การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) และตรวจสอบความเชื่อมั่นที่มีค่าครอนบาคแอลฟ่า เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจและองค์ประกอบเชิงยืนยันผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยว ชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวเกาะสีชัง ส่วนใหญ่ มีอายุ 20-30 ปี มีรายได้ เฉลี่ย 10,000 บาทต่อเดือน มาเที่ยวช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มากับญาติ ดําเนินการจองที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง อัตราค่าเฉลี่ยในการในการท่องเที่ยว 2,000-2,999 บาท สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ รับความนิยมสูงสุดของเกาะสีชัง คือ สักการระเจ้าพ่อเขาใหญ่ รูปแบบการท่องเที่ยวที่นิยม คือ การนั่งรถสกายแลปเที่ยวรอบเกาะ ระยะเวลา 1-2 วัน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเกาะสีชัง ส่วนใหญ มีอายุ 31-40 ปี มีรายได เฉลี่ย 30,000 บาทต่อเดือน มาเที่ยวช่วงลาหยุดยาว มากับเพื่อน ดําเนินการจองที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง อัตราค่าเฉลี่ยในการในการท่องเที่ยว 3,000 บาท สถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้ รับความนิยมสูงสุด คือ พระจุฑาธุชราชฐาน รูปแบบการท่องเที่ยวที่นิยม คือ การนั่งรถสกายแลปเที่ยวรอบเกาะระยะเวลา 1-2 วัน ผลการทดสอบองค์ประกอบเชิงสํารวจ พบว่า มีตัวแปรทั้งสิ้น 14 ตัวแปร อธิบายตราสินค้าท่องเที่ยวเกาะสีชัง ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก สามารถสังเคราะห์เป็นชื่อตราสินค้า การท่องเที่ยวเกาะสีชังได้ว่า แหล่งท่องเที่ยวแห่ง การเสริมสร้างเติมเต็มพลังแห่งจิตวิญญาณ (Spiritual recharge destination) ซึ่งตราสินค้าจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวที่เสริม สร้างเติมเต็มความสุขทางใจ ผ่านทิวทัศน์และบรรยากาศที่สวยงามสงบ อธิบายด้วย 4 ตัวแปรวัด คือ ทัศนียภาพทางธรรมชาติที่สวยงาม วิวทิวทัศน์สวยงาม สร้างความสดชื่น บรรยากาศที่สงบ ทําให้ผ่อนคลายอัธยาศัยที่เป็นมิตรเป็นกันเอง จึงตั้งชื่อองค์ประกอบว่า ความรื่นรมย์แห่งทิวทัศน์และบรรยากาศ (Scenic and calm environment) 2. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมความเชื่อ ความศรัทธาทางจิตวิญญาณและศาสนา อธิบายด้วย 3 ตัวแปรวัด มีกําลังใจดี เมื่อมาสักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่ สบายใจที่ได้ มาทําบุญไหว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างขวัญกําลังใจในการทําบุญจึงตั้งชื่อองค์ประกอบว่า การเติมเต็มแห่งกําลังใจ (Spiritual fulfilled) 3. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวการเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ อธิยายด้วย 3 ตัวแปรวัด คือ ตื่นเต้น เมื่อได้เรียนรู้ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเกาะสีชัง ชื่นชมวิถีชีวิตและเรื่องราวของชุมชน ตื่นเต้น เมื่อได้รับรู้ เรื่องราวของสถานที่ต่าง ๆ บนเกาะ จึงตั้งชื่อองค์ประกอบว่า ความตราตรึงแห่งประวัติศาสตร์ (Historical impression) 4. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม อธิบายด้วย 3 ตัวแปรวัด คือ สนุกสนาน ตื่นเต้นกับการท่องเที่ยวสกายแลปที่เป็นเอกลักษณ์ เพลิดเพลินกับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ประทับใจกับรสชาติและความหลากหลายของอาหารท้องถิ่น จึงตั้งชื่อ องค์ประกอบว่า การเติมเต็มพลังงานแห่งชีวิต (Reenergizing activities) แนวทางในการพัฒนาแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ การออกแบบตราสัญลักษณ์การท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม แล้วนําเสนอผ่านตราสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ดําเนินการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์และสื่อหลัก เช่น การจัดกิจกรรมมินิมาราธอนที่ใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าการท่องเที่ยวเกาะสีชังเป็นเหรียญรางวัล ตราสัญลักษณ์การแข่งขันการผสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในเกาะ ให้ใช้ของที่ระลึกที่สื่อถึงตราสินค้า แหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชังสําหรับนักท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อด้วยการสร้างเรื่องราวและนําเสนอผ่านบลอคเกอร์ หรือผู้มีชื่อเสียงบนสื่อสังคมออนไลน์ (Influencer) ที่เสริมสร้างความชัดเจนขององค์ประกอบตราสินค้าทั้ง 4 ด้าน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3796 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_291.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น