กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3792
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเชิงจิตประสาทวิทยาและการพัฒนาแบบคัดกรองเน้นกระบวนการทางปัญญาในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: This work was financially supported by the Research Grant of Burapha University through National Research Council of Thailand (Grant no. 54/2560)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พีร วงศ์อุปราช
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองเน้นกระบวนการทางปัญญาเพื่อประเมินนักเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้นที่มีความเสี่ยงภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากแต่ละตัวแปรของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นระหว่างกลุ่มนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 เทียบกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากแต่ละตัวของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นระหว่างนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มเสี่ยงฯ กับปกติ และเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากแต่ละตัวของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นระหว่างนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเสี่ยงฯ กับปกติการวิจัยนี้ประกอบไปด้วยช่วงศึกษานำร่องและทดสอบเครื่องมือจำนวน 2 ครั้ง และสุดท้ายได้ชุดแบบคัดกรองฯ ที่ประกอบไปด้วยแบบคัดกรองย่อยจำนวน 6 แบบ แบ่งเป็น 9 แบบย่อย ดังต่อไปนี้ เปรียบเทียบจำนวนจุดและตัวเลข เปรียบเทียบตัวเลขหนึ่งและสองหลัก เส้นจำนวน เปรียบเทียบค่าและขนาดตัวเลขหนึ่งและสองหลัก ตัวเลขสลับสี และบวกลบตัวเลขในใจ โดยห้าแบบคัดกรองย่อยแรกสะท้อนระบบตัวเลขโดยตรง ส่วนอีกสี่แบบคัดกรองย่อยที่เหลือสะท้อนระบบช่วยเหลือ นอกจากนี้แบบคัดกรองมาตรฐานผลรวมชุดตัวเลข ถูกนำมาใช้ทดสอบความตรงของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นและใช้จำแนกเด็กที่มีความเสี่ยงฯ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 500 คน (238 คนจากชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 267 คนจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) มาจาก โรงเรียนของรัฐจำนวน 12 แห่งในจังหวัดชลบุรี ความเที่ยงของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นวิเคราะห์ด้วยความสอดคล้องภายใน ส่วนความตรงของแบบคัดกรองฯ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ และ MANOVA ใช้วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่าแบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นมีค่าความเที่ยงอยู่ในระดับดีมากจนถึงดีเยี่ยม และความตรงอยู่ในระดับยอมรับได้ นอกจากนี้ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบคัดกรองระหว่างนักเรียนสองระดับชั้นครอบคลุมทั้งระบบตัวเลขโดยตรงและระบบช่วยเหลือ พบว่านักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ได้คะแนนต่ำกว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกแบบคัดกรองย่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มเสี่ยงฯ และปกติ พบว่านักเรียนกลุ่มเสี่ยงได้คะแนนต่ำกว่านักเรียนปกติแทบทุกแบบคัดกรองย่อย ยกเว้นเส้นจำนวน ซึ่งสามารถตีความถึงพัฒนาการล่าช้าของทั้งสองระบบในนักเรียนกลุ่มเสี่ยงนี้ เช่นเดียวกัน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเสี่ยงมีคะแนนต่ำกว่าการเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้านของแบบคัดกรองย่อยของระบบตัวเลขโดยตรง และเพียงแบบคัดกรองย่อยเปรียบเทียบค่าและขนาดตัวเลขหนึ่งและสองหลักของระบบช่วยเหลือ สะท้อนถึงพัฒนาการล่าช้าในระบบตัวเลขโดยตรงเป็นหลัก และบางส่วนของระบบช่วยเหลือ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3792
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_287.pdf5.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น