กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3787
ชื่อเรื่อง: | การวิจัยและพัฒนาการเคลือบฟิล์มบางอลูมินาเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการขีดข่วนของอัญมณีเนื้ออ่อนด้วยเทคนิค Plasma-enhanced atomic layer deposition (PE-ALD) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Research and development of alumina protective thin film coating on semi-precious stones by Plasma-enhanced atomic layer deposition (PE-ALD) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สายสมร นิยมสรวญ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี |
คำสำคัญ: | อุตสาหกรรมอัญมณี เครื่องประดับ อัญมณี -- การเจียระไน อัญมณี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจัดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมทำรายได้ให้กับประเทศในฐานะสินค้าส่งออกที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสำคัญอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศไทย ปัจจุบันพลอยเนื้ออ่อนเป็นพลอยที่ตลาดให้ความนิยมเป็นเพิ่มมากขึ้น จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้พลอยเนื้ออ่อนหากสามารถเพิ่มความต้านทานการขูดขีดได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการสังเคราะห์ฟิล์มบางอลูมินาบนพลอยเนื้ออ่อนด้วยการตกสะสมในระดับอะตอมที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วยพลาสมา ออกซิเจน (Plasma Enhanced Atomic Layer Deposition : PE-ALD) โดยปฏิกิริยาระหว่าง Trimethylaluminum (TMA ) จากพลาสมาออกซิเจนและมีการควบคุมกำลังไฟ 145-150 วัตต์ ความดันในห้องเคลือบเริ่มต้นที่ 4× 10-2 ทอร์ โดยมีศึกษาอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงจำนวนการเคลือบ 400 - 800 รอบ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิการเคลือบ 80 - 300 องศาเซลเซียส จากผลการวัดการแตกตัวของพลาสมาก๊าซออกซิเจน อนุมูลสาคัญที่พบมาก คือ อนุมูล O* องค์ประกอบทางเคมีที่พบบนผิวฟิล์มเมื่อตรวจสอบด้วยเทคนิค XPS พบว่าฟิล์มอลูมินาประกอบด้วย พันธะ Al – O, และAl – OH, ซึ่งฟิล์มมีการปนเปื้อนของคาร์บอนประกอบด้วยพันธะ C – O – Al, และ C = O, และเทคนิค XRD แสดงลักษณะอสัณฐาน (Amorphous) ของฟิล์มบางพลอยเนื้ออ่อนที่ผ่านการเคลือบแล้วยังคงคุณลักษณะพื้นฐานของค่าดัชนีหักเหของแสง และค่าความถ่วงจำเพาะของค่าพื้นฐานของพลอยนั้น และคุณสมบัติทางแสงด้วยเทคนิค UV-VIS NIR spectroscopy ไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงสีของอัญมณีที่ผ่านการเคลือบฟิล์มบาง การเคลือบฟิล์มบางบนโรสควอทซ์ พบว่ามีความหนาเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิการเคลือบที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน การเคลือบฟิล์มบางพลอยเพอริโดทำให้ความหนาลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิในการเคลือบพลอยเนื้ออ่อนที่เคลือบฟิล์มบาง มีค่าความแข็งเพิ่มขึ้น โดยพบว่าพลอยเพอริโดซึ่งก่อนเคลือบมีค่าความแข็งที่ต่ากว่าพลอยโรสควอทซ์ เมื่อเคลือบฟิล์มบางแล้วทำให้มีค่าความแข็งใกล้เคียงกับพลอยโรสควอทซ์ที่ไม่ได้เคลือบ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลให้ค่าความแข็งมีการเพิ่มขึ้นมากขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3787 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_281.pdf | 16.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น