กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3766
ชื่อเรื่อง: | ผลของการเจืออลูมิเนียมต่อสมบัติทางโครงสร้าง ทางแสงและทางไฟฟ้าของเส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ปั่นด้วยไฟฟ้าสถิต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of Al-doping on the structure, optical and electrical properties of electrospun zinc oxide nanofibers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กัญจน์ชญา หงส์เลิศคงสกุล จิราภรณ์ พงษ์โสภา ภัททิรา หอมหวน ดุสิต งามรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เส้นใยนาโนอลูมิเนียมซิงค์ออกไซด์จะสังเคราะห์ด้วยเทคนิคการปั่นเส้นใยนาโนด้วยไฟฟ้าสถิตซึ่งมีสารซิงค์อะซีเตท โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ และอลูมิเนียมไนเตรต โนนาไฮเดรตเป็นสารตั้งต้น เส้นใยนาโนของสารละลาย ZnAc:PVA ที่มีปริมาณสารอลูมิเนียมไนเตรต โนนาไฮเดรตที่แตกต่างกัน คือ 0, 1, 3, 5 และ 7 g จะปั่นลงบนแผ่นรองรับ ในการปั่นจะใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่แตกต่างกันคือ 18 20 22 และ 24 kV และระยะห่างระหว่างปลายเข็มฉีดยากับแผ่นโลหะรองรับที่แตกต่างกันคือ 8 9 10 11 และ 12 cm เส้นใยนาโนที่ปั่นได้จะนำไปอบที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ 400 450 500 550 และ 600๐C เส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ได้ทั้งหมดจะนำไปวิเคราะห์สมบัติทางโครงสร้าง ทางแสง และทางไฟฟ้าการวัดลักษณะทางสัณฐานของเส้นใยนาโนอลูมิเนียมซิงค์ออกไซด์ด้วยเครื่อง Scanning Electron Microscope (SEM) พบว่าเส้นใยที่ได้ทั้งหมดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในระดับนาโนเมตร ลักษณะทางโครงสร้างผลึกที่ศึกษาด้วยเทคนิค X-ray Diffraction (XRD) ยืนยันว่าเส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ทั้งที่ไม่เจือและเจือด้วยอลูมิเนียมมีโครงสร้างความเป็นผลึก การวิเคราะห์สมบัติทางแสงด้วยเครื่อง Uv-Vis spectroscopy พบว่า ค่าแถบพลังงานแสงของเส้นใยนาโนอลูมิเนียมซิงค์ออกไซด์อยู่ในช่วง 3.02-3.23 eV ในขณะที่การวัดสภาพต้านทางไฟฟ้าพบว่า เส้นใยนาโนอลูมิเนียมซิงค์ออกไซด์มีสภาพต้านทานไฟฟ้าอยู่ในช่วง 1.50 x10-4- 1.98x10-4 Ωm สมบัติทางโครงสร้าง ทางแสงและทางไฟฟ้าของเส้นใยนาโนอลูมิเนียมซิงค์ออกไซด์จะขึ้นกับปริมาณของอลูมิเนียมไนเตรต โนนาไฮเดรต ความต่างศักย์ไฟฟ้า ระยะห่างระหว่างปลายเข็มฉีดยากับแผ่นโลหะรองรับ และอุณหภูมิที่ใช้อบ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3766 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_242.pdf | 2.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น