กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3765
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบตรวจสอบสารยับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดสในพืชสมุนไพรไทยเพื่อใช้ป้องกันโรคทางสมองและบาบัดอาการติดบุหรี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of inhibition assays for screening Thai medicinal plants against monoamine oxidases, pharmacotherapeutic target enzymes of neurological disorders and tobacco dependence
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทรงกลด สารภูษิต
พรพิมล รงค์นพรัตน์
เอกรัฐ ศรีสุข
ปณิดา ดวงแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: พืชสมุนไพรไทย
โรคทางสมอง
การติดบุหรี่
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคทางระบบประสาทเช่น โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้นและโรควิตกกังวลรวมไปถึงโรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่พบมากขึ้นในปัจจุบัน โดยหนึ่งในสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของอุบัติการณ์โรคเหล่านี้เกิดจากการทำงานของเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (monoamine oxidase : MAO) ทั้ง 2 isoform คือ MAO-A และ MAO-B การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเปรียบเทียบผลการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MAO จากสมองหมู (Sus domesticus) กับเอนไซม์ MAO จากมนุษย์ ทำการค้นหาสารสำคัญในพืชสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เอนไซม์ MAO และศึกษากลไกในการยับยั้งเอนไซม์ MAO รวมถึงเอนไซม์ CYP2A6 ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายนิโคตินและการเสพติดบุหรี่ ผลการศึกษาพบว่าเอนไซม์ MAO จากสมองหมูสามารถนำมาใช้ในการทดสอบเบื้องต้นถึงฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MAO ได้ โดยมีค่าประสิทธิภาพในการยับยั้งแตกต่างจากค่า MAO ของมนุษย์ อย่างไรก็ดีวิธีในการตรวจสอบส่งผลต่อประสิทธิภาพในการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO ด้วยเช่นกัน โดยควรใช้สารตั้งต้นเรืองแสง kynuramine แทนที่วิธีการมาตรฐานที่ใช้การปฏิกิริยา coupling assay ของสารตรวจสอบ ABTS และเอนไซม์ HRP เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งโดยวิธี Bio-assay guide isolation ผู้วิจัยได้สารสำคัญ 1 ชนิด (Rheum1) จากสมุนไพรโกฐน้ำเต้าที่ยัง ไม่สามารถระบุโครงสร้างได้ และสารสำคัญ 3 ชนิด (Rhinacanthin-A,-B, และ –C) จากสมุนไพรทองพันชั่ง โดยสารสำคัญ Rheum1 ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO-B ได้ดีที่สุดด้วยค่า IC50 3.48 μM และสาร Rhinacanthin-B ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO-A ได้ดีที่สุดด้วยค่า IC50 17.21 μM โดยสารทั้งสองออกฤทธิ์ยับยั้งแบบผันกลับได้ เมื่อนำมาศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 พบว่าสารสาคัญ Rheum1 ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 ด้วยค่า IC50 19.12 μM ซึ่งมากกว่า Rhinacanthin-A ที่เคยมีรายงานว่ายับยั้งการทำงานของ CYP2A6 ด้วยค่า IC50 1.88 μM (Pouyfung et al., 2014) ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสารสำคัญที่ได้ สามารถออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ได้ถึง 3 เอนไซม์ และเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ลด หรือป้องกันโรคทางสมองหรือลดการสูบบุหรี่จากสมุนไพรไทยต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3765
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_257.pdf1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น