กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3755
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษาตามแนวคิดหลักการเรียนรู้แบบรอบรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับทางเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Physics Instructional Model Development in Undergraduate Level with Mastery Learning and Flipped Classroom Approach to develop the Analysis Thinking |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉลองชัย ธีวสุทรสกุล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์การวิจัย 1. ศึกษาแนวทางการนำแนวคิดการเรียนแบบรอบรู้ (Mastery learning) และแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped classroom) ประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษา 2. พัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษา ตามแนวคิดการเรียนแบบรอบรู้ และแนวคิดห้องเรียนกลับทาง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ ที่เกิดกับผู้เรียน โดยเปรียบเทียบก่อนทดลองและหลังทดลองในด้าน ทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส์ ผลสัมฤทธิ์การเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ ผลการวิจัย 1. ได้แนวทางการนำแนวคิดการเรียนแบบรอบรู้ (Mastery learning) และแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped classroom) ประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษา 7 ข้อ คือ 1.) ผู้สอนควรศึกษาทำความเข้าใจและเห็นแบบอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบรอบรู้ หรือ/และ การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง 2.) ผู้สอนควรวิเคราะห์สภาพการเรียนการสอนขณะนั้นให้ครอบคลุมมากสุด 3.) ผู้สอนควรวิเคราะห์และเลือกเนื้อหาฟิสิกส์ที่เหมาะสม 4) ผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้งก่อนเข้าชั้นเรียน ในชั้นหลัง และภายหลังชั้นเรียน ให้เชื่อมโยงสนับสนุนกัน 5.) กิจกรรมการเรียนรู้ควรนำรูปแบบการสอนหรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ มาผสมผสาน 6) ก่อนจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรทำความเข้าใจกับผู้เรียน เกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ จากการเรียนรู้แบบรอบรู้และห้องเรียนกลับทาง 7) ควรมีสิ่งจูงใจที่เหมาะสมกับ ความสนใจและวัยของผู้เรียน 2. รูปแบบการเรียนรู้ฯ มี 10 ขั้นตอน คือ 1) ผู้สอนศึกษาหลักการเรียนแบบรอบรู้และห้องเรียนกลับทาง 2) ผู้สอนวิเคราะห์ผู้เรียนและปัจจัยต่าง ๆ ให้ครอบคลุมมากสุด 3) ผู้สอนเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม 4) ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน 5) ผู้สอนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนก่อนเข้าชั้น เรียน 6) ผู้สอนออกแบบกิจกรรมการสอนในชั้นเรียน 7) ผู้สอนออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนทบทวน/ฝึกฝน 8) ผู้สอนออกแบบสร้าง/จัดหา/เตรียม สิ่งต่าง ๆ 9) จัดการเรียนการสอนตามที่ออกแบบ 10) ผู้สอนประเมินผลการดำเนินการที่ผ่านมา เพื่อนำไปใช้ในครั้งต่อไป 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ กับกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม พบว่าผลสัมฤทธิ์การเรียนทักษะการคิดวิเคราะห์ และทัศนคติต่อวิชาฟิสิกส์ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญที่ .05 จากการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนมีความพร้อมกับการเรียนในชั้นเรียนมากขึ้นกว่าการสอนแบบเดิม สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ รวมทั้งซักถามและแสดงความคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับประเด็นทางฟิสิกส์ได้ดีขึ้น กว่าเดิม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3755 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย(Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_235.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น