กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3715
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยของธาตุอาหารและซัลไฟด์ต่อมวลชีวภาพและการแพร่กระจายของหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors of nutrient and sulfide on biomass and distribution of seagrass beds along the coastal of, Sattahip Bay, Chon Buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จริยาวดี สุริยพันธุ์ อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ วิชญา กันบัว โสภาวดี เมืองฮาม ปราณี นนท์ชนะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | หญ้าทะเล |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เก็บตัวอย่างน้ำ ดินตะกอนเพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและปริมาณซัลไฟด์ในดิน ร่วมกับการไหลเวียนของกระแสน้ำ ต่อการแพร่กระจายและมวลชีวภาพของหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่งอาเภอเมืองสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 การประเมินมวลชีวภาพของหญ้าทะเล เก็บตัวอย่างดิน และน้ำครอบคลุมตามระดับความลึก พบหญ้าทะเลทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ Halodule pinifolia, Halodule uninervis, Halophila ovalis และ Halophila minor มวลชีวภาพของหญ้าทะเลบริเวณหน้าโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ รองลงมาได้แก่ อ่าวเตยงามและศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล มีค่าระหว่าง 78.57 ± 30.9 - 109.03 ± 9.1, 0.00 ± 0.0 - 17.69 ± 7.3 และ 2.21 ± 0.41 - 5.66 ± 7.8 กรัมน้ำหนักแห้งต่อตารางเมตร ตามลำดับ มวลชีวภาพของหญ้าทะเลเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน และเริ่มลดลงหลังเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม คุณภาพน้ำในแนวหญ้าทะเลพบว่าอุณหภูมิของน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ พีเอชน้ำ ความเค็มน้ำ ความโปร่งใสของน้ำ ความลึกของน้ำในแต่ละสถานีไม่มีความแตกต่างกัน แต่พบการเปลี่ยนของของธาตุอาหารในกลุ่มไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นอิทธิพลมาจากฝนตก จึงทำให้ปริมาณธาตุอาหารในน้ำเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ เป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของกำลังผลิตในแหล่งน้ำบริเวณหน้าโรงพยาบาลอาภากรณ์เกียรติวงศ์ มีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงกว่าในพื้นที่อื่น กระแสน้ำตามแนวชายฝั่งทะเลสัตหีบไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพของหญ้าทะเล แต่ส่งผลต่อการสะสมของธาตุอาหาร และการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบดินตะกอนในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล ซึ่งความแรงของกระแสน้ำจะส่งผลต่อการสะสมของดินตะกอนละเอียด ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ในดิน ทำให้ปริมาณสารอินทรีย์ในดินไม่มากจนเกินไป และกระแสน้ำ และความแรงของกระแสน้ำสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาร่วมกับปัจจัยทางชีวภาพ และทางเคมีเพื่อการพิจารณาความเหมาะสมกับการย้ายปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์ในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3715 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_205.pdf | 4.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น