กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3710
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ทางชีวภาพของเปปไทด์ที่สกัดได้จากกากน้ำปลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bioactive activities of peptides extracted from fish sauce byproduct
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แวววลี โชคแสวงการ
ผาณตา เอี้ยวซิโป
สิทธิรักษ์ รอยตระกูล
จันทิมา จเรสิทธิกุลชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
คำสำคัญ: กากน้ำปลา
อุตสาหกรรมน้ำปลา
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: กากน้ำปลาเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมน้ำปลา ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ยังคงมีสารอาหารที่มี คุณค่าสูง ในกระบวนการผลิตน้ำปลาในโรงงานอุตสาหกรรม โปรตีนจากปลาจะถูกย่อยให้มีขนาดโมเลกุล เล็กลงด้วยเอนไซม์จากระบบย่อยอาหารของปลาและจากแบคทีเรียทนเค็มในบ่อหมัก จึงสามารถจัดเป็น โปรตีนไฮโดรไลเซทที่เกิดตามธรรมชาติได้ กากน้ำปลาแบ่งออกเป็น 3 ระดับชั้นคุณภาพ ตามระดับของ น้ำปลาที่ผลิตและระยะเวลาในการหมัก ซึ่งทำให้โมเลกุลของเปปไทด์ในโปรตีนไฮโดรไลเซทมีขนาด แตกต่างกันด้วย งานวิจัยนี สนใจศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของเปปไทด์จากกากน้ำปลาเพื่อน้าไปสู่การเพิ่ม มูลค่าของผลิตภัณฑ์พลอยได้ โดยฤทธิ์ทางชีวภาพที่ถูกศึกษา ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ความสามารถในการจับกับไอออนของโลหะ ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ยับยั งการเจริญของจุลชีพ และฤทธิ์ยับยั้งการเจริญ ของเซลล์มะเร็ง กากน้ำปลาถูกนำมาศึกษาวิธีสกัดที่เหมาะสมและวิธีแยกเปปไทด์ออกจากเกลือโดยใช้ gel-filtration chromatography ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของโปรตีนในกากน้ำปลามี ค่าลดลงตามระดับชั้นคุณภาพที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปริมาณโปรตีนไม่มีความสอดคล้องโดยตรงกับฤทธิ์ทางชีวภาพ กากน้ำปลาระดับชั้นคุณภาพที่ 1 มีความสามารถในการยับยั้งอนุมูล DPPH และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ angiotensin-converting enzyme (ACE) ได้ดีกว่าอีกสองระดับชั้นคุณภาพ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.32  0.02 mg/mL และ 0.99  0.40 mg/mL ตามล้าดับ และยังมีความสามารถในการ รีดิวซ์ที่ดีกว่าระดับชั้นคุณภาพที่ 2 และ 3 อีกด้วย กากน้ำปลาระดับชั้นคุณภาพที่ 2 มีความสามารถใน การยับยั้ งอนุมูล hydroxyl และจับกับไอออนของโลหะได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.36  0.01 mg/mL และ EC50 เท่ากับ 1.00  0.12 mg/mL ตามลำดับ กากน้ำปลาระดับชั้นคุณภาพที่ 2 และ 3 แสดงคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย S. aureus, E. coli and X. oryzae pv. oryzae ได้ บางส่วน อย่างไรก็ตามกากน้ำปลาทั้งสามระดับชั้นคุณภาพไม่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของ เซลล์มะเร็งตับชนิด HepG2 และเมื่อเปปไทด์ผ่านการแยกส่วนตามมวลโมเลกุลและแยกส่วนตาม คุณสมบัติไฮโดรโฟบิก ตามลำดับ พบว่าเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ ACE ที่ดี เป็นกลุ่มที่มีขนาดโมเลกุลเล็กกว่า 3 kDa และมีความไฮโดรโฟบิกสูง โดยเปปไทด์ บริสุทธิ์จากแฟรกชันที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สามารถระบุลำดับกรดอะมิโนได้ด้วย LC-MS/MS คือ PQLLLLLL และ LLLLLLL ซึ่งมีคุณสมบัติไฮโดรโฟบิกสูง งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ทางชีวภาพจากเปปไทด์ที่มีอยู่ในกากน้ำปลา ซึ่งสามารถใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3710
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_202.pdf2.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น