กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3707
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศศิภาวรรณ มาชะนา
dc.contributor.authorกาญจนา ธรรมนู
dc.contributor.authorยศนันท์ วีระพล
dc.contributor.authorสุมิตร คุณเจตน์
dc.contributor.authorบุญดิศย์ วงศ์ศักดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
dc.contributor.otherสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned2019-10-15T03:53:15Z
dc.date.available2019-10-15T03:53:15Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3707
dc.description.abstractการศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำผึ้งชันโรง (Tetrtagona pagdeni) ในแหล่งต่าง ๆ ทั้ง 5 แหล่ง ได้แก่ ป่าชายเลน สวนผลไม้ สวนสมุนไพร นาข้าวระบบเปิด และนาข้าวระบบปิด โดยจากการศึกษาลักษณะของสีน้ำผึ้งที่เก็บจากแหล่งต่าง ๆ สังเกตสีที่ต่างกัน ซึ่งสีของน้ำผึ้งชันโรงที่เก็บจากนาข้าวระบบปิดมีสีเหลืองใสกว่าน้ำผึ้งจากแหล่งอื่น ๆ ส่วนน้ำผึ้งชันโรงที่เก็บจากป่าชายเลนและสวนผลไม้มีสีน้ำตาลเข้ม โดยจากการศึกษาพบว่าสีน้ำตาลของน้ำผึ้งมีความสอดคล้องกับปริมาณสารฟีนอลลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์ปริมาณสาร 5-ไฮดรอกซีเมทิล-2- เฟอร์ฟิวราลดีไฮด์ (HMF) และน้ำตาลในน้าผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบของเหลวแรงดันสูง (HPLC) พบว่าสาร HMF ในน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งมีปริมาณไม่เกินมาตรฐานกาหนด ซึ่งอยู่ในช่วง 0.12-0.38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และจากการวิเคราะห์พบว่ามี ปริมาณน้ำตาลที่พบในน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และมอลโตส โดยจากการวิเคราะห์ไม่พบน้ำตาลซูโครสในน้ำผึ้งชันโรง นอกจากนี้ในการวิเคราะห์สเปกตรัมของน้ำผึ้งด้วยเทคนิค FTIR และ FT-RAM spectroscopy เพื่อแยกความแตกต่างของน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งด้วยการวิเคราะห์ PCA analysis พบว่าน้ำผึ้งชันโรงมีลายพิมพ์นิ้วมือที่แตกต่างกันในช่วง 1500-900 cm-1 ซึ่งสอดคล้องกับช่วงของน้ำตาล โดย น้ำผึ้งชันโรงมีความแตกต่างกันตั้งแต่ PC 1 ที่ 58 % เมื่อวิเคราะห์ด้วย FTIR spectroscopy และที่ 52% เมื่อวิเคราะห์ด้วย FT-RAMAN spectroscopy ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าทั้งเทคนิค FTIR และ FT-RAM spectroscopy เป็นเทคนิคที่สามารถใช้แยกความแตกต่างของน้ำผึ้งชันโรงที่แตกต่างกันได้อย่างรวดเร็วและ ประหยัดขั้นตอนในการวิเคราะห์ยิ่งไปกว่านี้การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์สารประกอบฟีนอลลิกและสารประกอบฟลาโวนอยด์ในน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่ง ซึ่งพบว่าน้ำผึ้งชันโรงจากป่าชายเลนมีปริมาณสารฟีนอลลิกและฟลาโวนอยด์มากที่สุดที่ 2.66 g GAE/100 g ของน้ำผึ้ง และ 0.99 g QAE/ 100 g ของน้ำผึ้ง ตามลำดับ โดยจากการศึกษาพบว่าปริมาณ สารฟีนอลลิกและฟลาโวนอยด์ในน้ำผึ้งชันโรงสอดคล้องกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยพบว่าน้ำผึ้งชันโรงที่ 1000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระที่ช่วง 75.88-87.53 % (ด้วยวิธี DPPH) และ 80.68 – 88.20% (ด้วยวิธี ABTS) โดยน้ำผึ้งชันโรงจากป่าชายเลนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดซึ่งสอดคล้องกับสีของน้ำผึ้ง ทั้งนี้ผู้วิจัยยังพบว่าเมื่อทำการพัฒนาตำรับลูกอมเม็ดนิ่มจากน้ำผึ้งชันโรงและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ความเข้มข้น 500 ซ mg/ml มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าน้ำผึ้งชันโรงที่ 88.87-89.05% โดยวิธี DPPH และ ABTS ตามลำดับ ซึ่ง ฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดอันกิริยาที่เสริมฤทธิ์กันของสารที่ผสมในลูกอมเม็ดนิ่มกับน้ำผึ้งชันโรง งานวิจัยนี้ยังศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิค FTIR and FT-RAMN spectroscopy ในการทานายสารฟีนอล ลิกในน้ำผึ้งชันโรง ซึ่งผลการศึกษาพบเทคนิค FTIR spectroscopy และวิธีทั่วไปที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิก (Follin Ciocaltue) มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ที่สูงถึง 98.75% ค่าความคลาดเคลื่อนในการทำนายเท่ากับ 0.0833% ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยทั้งหมด 0.00159% และสัดส่วนระหว่างค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.94 ในขณะที่เทคนิค FT-RAMAN spectroscopy และวิธีทั่วไปมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ที่ 78.44% ค่าความคลาดเคลื่อนในการทำนายเท่ากับ 0.379% ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยทั้งหมด 0.0432% และสัดส่วนระหว่างค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.1 ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์นี้จึงสรุปได้ว่าวิธี FTIR spectroscopy สามารถใช้ในการทำนายปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกในน้าผึ้งชันโรงได้อย่างแม่นยา ซึ่งการศึกษานี้เป็นรายงานครั้งแรกในการใช้เทคนิค FTIR และ FT-RAN spectroscopy ในการทานายปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกในน้ำผึ้งชันโรง โดยโครงการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มมูลค่าของน้ำผึ้งชันโรงของสารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกอมเม็ดนิ่มจากน้ำผึ้งชันโรง อีกทั้งเป็นการประยุกต์ใช้เทคนิค FTIR และ FT-RAMAN spectroscopy ในการวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงคุณภาพและกึ่งปริมาณเพื่อใช้ในเชิงพานิชย์ของน้ำผึ้งชันโรงต่อไปได้th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectน้ำผึ้งชันโรงth_TH
dc.subjectการพัฒนาผลิตภัณฑ์th_TH
dc.titleโครงการการศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำผึ้งชันโรงในแหล่งต่าง ๆ และ การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์th_TH
dc.title.alternativeInvestigation of physical and chemical characteristic of stingless bees honey in different locations and product developmenten
dc.typeResearch
dc.author.emailyotsanan@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailkthumanu@gmail.comth_TH
dc.author.emailskunjet@yahoo.comth_TH
dc.author.emailkongletter@hotmail.comth_TH
dc.author.emailsasipawan.machana@gmail.comth_TH
dc.year2562
dc.description.abstractalternativeThe study of physical and chemical characteristic of stingless bee honey (Tetrtagona pagdeni) in five different locations, e.g. mangrove forest, fruit garden, herbal garden, rice farm in open system and rice farm in closed system. The results of different color of stingless bee honey were observed. Stingless bee honey from rice farm in close system presented yellow clearer color than other locations, while the stingless bee honey from mangrove forest and fruit garden showed dark brown color which related to high total phenolic and antioxidant activity. The High pressor liquid chromatography (HPLC) was used to analyzed content of 5-hydroxymethyl-2-furaldehyde (HMF) and sugars in stingless bee honey from five different locations. The results showed all stingless bee honey to have HMF not more than standard specification in range 0.12-0.38 mg/kg. Moreover, stingless bee honey composed of different sugar such as glucose, fructose and maltose, but all off stingless bee honey were not comprised of sucrose content. The FTIR and FT-RAMAN spectrum of stingless bee honey from five different locations were discriminated by the Principal Component Analysis (PCA) analysis. The result presented finger print in range 1500-900 cm-1 of sugar of stingless bee honey can discriminate five different locations with PC1 at 58% of FTIR spectroscopy and at 52% of FT-RAMAN spectroscopy technique. Therefore, both FTIR and FT-RAM spectroscopy technique can be used to discriminate different location of stingless bee honey with rapid result and save for analysis processes. Furthermore, this study investigated all of stingless bee honey comprised of total phenolic and total flavonoid content, the stingless bee honey from mangrove forest exhibited the highest content as 2.66 g GAE/100 g honey and 0.99 g QAE/ 100 g of honey. Total phenolic and total flavonoid content were related to antioxidant activity at 1000 mg/ml of all stingless bee honey, represented percentage of inhibition of free radical at range of 75.88-87.53 % (DPPH assay) and 80.68 – 88.20% (ABTS assay). The stingless bee honey from mangrove forest present the highest antioxidant activity which related to the color of honey. Then the product of stingless ญ bee honey pastille at 500 mg/ml was performed and showed higher antioxidant activity than stingless bee honey at 88.87and 89.05 % by using DPPH and ABTS assay, respectively. The activity of stingless bee honey pastille was increasing might be from the synergistic effect of other ingredients and stingless bee honey. This study investigated the application of FTIR and FT-RAMN spectroscopy technique to predict total phenolic content of stingless bee honey. The result showed high Correlation Coefficient between FTIR spectroscopy and general method Follin Ciocaltue at R2 of 98.75% RMSECV 0.0833% bias 0.00159% and RPD 8.94%. Otherwise the correlation coefficient between FT-RAMAN spectroscopy and general method present R2 at 78.44% RMSECV 0.379% bias 0.0432% and RPD 2.1%. Therefore, the study concludes that FTIR spectroscopy can be used to predict total phenolic content of stingless bee honey with accurate results. This is the first report to apply FTIR and FT-RAN spectroscopy to predict the total phenolic content in stingless bee honey. This project showed high value of stingless bee honey for natural antioxidant activity and product development of pastille from stingless bee honey. Moreover, applying the FTIR and FT-RAMAN spectroscopy to determine the data of qualitative and semi-quantitative has showed the commercial value of stingless bee honey.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_198.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น