กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3700
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์นำเข้าเข้ามูลสำหรับการสอบข้อเขียน-การเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์การเขียนและอุปกรณ์การพิมพ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Performance study of input devices for generating writing with drawing tasks in written exams – a comparison between handwriting and typing devices |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันทา วงศ์จตุรภัทร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผสสัมฤทธิ์ทางการเรียน กล้ามเนื้อ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การสอบวัดผลทางการเรียนการสอน เป็นกระบวนการประเมินผลที่มหาวิทยาลัยใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินผลสมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งหากพิจารณาวิธีการสอบในลักษณะต่าง ๆ จะพบว่า การสอบวัดผลจะสามารถใช้อุปกรณ์อินพุตประเภทต่าง ๆ ได้ ซึ่งการวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาการใช้อุปกรณ์อินพุตแบบดิจิทัลที่อาจ มีผลกระทบต่อการใช้กล้ามเนื้อและนำไปสู่การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ในการวิจัยนี้ได้ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในขณะทำการสอบข้อเขียน ได้แก่ กล้ามเนื้อ trapezius (TRAP), biceps brachii (BB), flexor digitorum superficialis (FDS), extensor Carpi radialis brevis (ECRB) และกล้ามเนื้อ extensor digitorum Communis (EDC) โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลสัญญาณไฟฟ้า กล้ามเนื้อ Electromyography ในขณะใช้อุปกรณ์ Boogie Board, Chromebook, iPad pro, Notebook Keyboard, ปากกากระดาษ และ Yoga Book กลุ่มตัวอย่างคือ โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวน ยี่สิบคน ผลการวิจัยพบว่า Boogie Board และปากกาลูกลื่นทำให้เกิดการใช้งานกล้ามเนื้อมากที่สุด กล่าวคือ ในขณะใช้ Boogie Board และปากกาลูกลื่นกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะกล้ามเนื้อ FDS และ ECRB มากที่สุด นอกจากนี้ Boogie Board ยังท าให้เกิดการใช้งานกล้ามเนื้อ BB เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เมื่อเป็นการใช้ อุปกรณ์ Yoga Book พบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้กล้ามเนื้อ TRAP, FDS และ EDC เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในทาง ตรงกันข้าม Chromebook และ iPad pro ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้กล้ามเนื้อ FDS และ EDC มีแนวโน้มลดลง อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเมื่อกลุ่มตัวอย่างใช้พิมพ์บนคีย์บอร์ดคีย์บอร์ด จะพบว่าการใช้งานกล้ามเนื้อ BB, FDS และ ECRB น้อยลง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเมื่อการสอบวัดผลทางการเรียนการสอนที่อยู่ในรูปแบบของการเขียนคำบรรยายและแผนภาพ การใช้คีย์บอร์ดโน๊ตบุ๊คจึงอาจเป็นอินเตอร์เฟสที่เหมาะสมกว่าการเขียนด้วยลายมือ การค้นพบยังชี้ให้เห็นว่าอุปกรณ์การเขียนด้วยลายมือ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมากขึ้นและอาจนำไปสู่การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อในอนาคตเมื่อต้องเขียนด้วยลายมือเป็นเวลานาน ๆ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3700 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_197.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น