กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/369
ชื่อเรื่อง: | การทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองทำนายการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในอ่าวไทยตอนบน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Verification of oil spill trajectory model in the upper gulf of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กระแสน้ำ - - แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ กระแสน้ำ - - ไทย (ภาคตะวันออก) การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน คราบน้ำมัน |
วันที่เผยแพร่: | 2542 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | แบบจำลองทำนายการเคลื่นที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลได้ถูกทดสอบพื้นที่ 4 บรเวณในเขตอ่าวไทยตอนบน ได้แก่ บริเวณระหว่างเกาะสีชังและอำเภอศรีราชา, บริเวณกลางอ่าวไทยตอนบน บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา และบริเวฯบากแม่น้ำบางปะกง เป็นแบบจำลองที่อาศัยสมมติฐานว่าคราบน้ำมันดิบที่รั่วไหลในทะเลเปรียบเหมือนเป็นวัตถุลอยน้ำที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติตามเวลา จะเคลื่อนที่ไปตามแรงลับที่มากระทำ ซึ่งแรงลัพธ์นี้พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ กระแสน้ำที่เกิดจากการกระทำโดยลม (Ekman current), การเคลื่อนที่ที่เป็นผลมาจากคลื่น (Stokes drift), กระแสน้ำถาวรหรือกึ่งถาวรในพื้นที่ขนาดใหญ่ (Background current) และกระแสน้ำที่เกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง (Tidal current) โดยที่กระแสน้ำขึ้นน้ำลงที่ใช้นั้นเป็นค่าที่ได้จากการคำนวณโดยแบบจำลองคำนวณกระแสน้ำอีกทีหนึ่ง การทดสอบความถูกต้องด้านของผลการทำนายของแบบจำลองทำนายการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทพเล ทำโดยการเปรียบเทียบผลการทำนายกับการเคลื่อนที่ของแผ่นกระดาษเคลือบพลาสติก หรือ ดริฟการ์ด (drift cards) ที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลบริดวณที่ศึกษา พบว่าแบบจำลองให้ผลการคำนวณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงสำหรับการทดสอบในบริเวณระหว่างเกาะสีชัง และอำเภอศรีราชา ส่วนผลการทดลองที่บริเวณกลางอ่าวไทยให้ผลที่ไม่สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของดริฟการ์ดมากนักซึ่งเป็นผลมาจากการกระแสน้ำที่เกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง ส่วนการทดสอบที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาและปากแม่น้ำบางประกงนั้น แบบจำลองไม่สามารถทำนายการเคลื่อนที่ของดริฟการ์ดได้ เพราะรายงานผลว่าบริเวณที่ทดสอบนี้เป็นแผ่นดิน ผลการตรวจสอบทั้งหมดจากการศึกษาทำให้ทราบถึงแนวทางในการปรับปรุงแบบจำลองทำนายการเคลื่อนที่ของน้ำมันดิบที่รั่วในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยตอนบนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/369 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น