กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3675
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of multifactorial program for prevention falls among community-dwelling older adults |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา พิบูลย์ ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ พวงทอง อินใจ มยุรี พิทักษ์ศิลป์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม ป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม ไม่มีภาวะสมองเสื่อม สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ในระดับปกติ และยินดีเข้าร่วม การศึกษาจำนวน 150 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่ม อย่างง่ายกลุ่มละ 50 คน โดยกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มได้รับโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย 1 (การให้ความรู้ การออกกำลังกายแบบเซิ้งอีสาน ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย การให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา และการประเมินและติดตามผล) และ โปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย 2 (การให้ความรู้ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ ปลอดภัย การให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา และ การประเมินและติดตามผล) เป็นเวลา 20 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินสมรรถนะทางกายวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Independent samples t-test และเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ และ 20 สัปดาห์ กลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้การป้องกันการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม การทรงตัว และสมรรถนะทางกายสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวในการหกล้มต่ำกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p<0.05) ภายหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ และ 20 สัปดาห์ กลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้การป้องกันการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกัน การหกล้ม การทรงตัว และสมรรถนะทางกายสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม และมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวใน การหกล้ม ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลจากการศึกษาพบว่า โปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเพิ่มระดับความรู้ พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ความสามารถในการทรงตัว และสมรรถนะทางกาย และสามารถลดความกลัวในการหกล้มของผู้สูงอายุได้ ดังนั้น ผู้ให้บริการสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชนสามารถนำ โปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการดูแลตนเองในการป้องกันการ หกล้มให้กับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการหกล้มทั้งที่บ้านและในชุมชน ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3675 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_169.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น