กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3675
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกาญจนา พิบูลย์th
dc.contributor.authorไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์th
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.authorมยุรี พิทักษ์ศิลป์th
dc.date.accessioned2019-09-30T07:51:29Z
dc.date.available2019-09-30T07:51:29Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3675
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม ป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม ไม่มีภาวะสมองเสื่อม สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ในระดับปกติ และยินดีเข้าร่วม การศึกษาจำนวน 150 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่ม อย่างง่ายกลุ่มละ 50 คน โดยกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มได้รับโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย 1 (การให้ความรู้ การออกกำลังกายแบบเซิ้งอีสาน ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย การให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา และการประเมินและติดตามผล) และ โปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย 2 (การให้ความรู้ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ ปลอดภัย การให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา และ การประเมินและติดตามผล) เป็นเวลา 20 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินสมรรถนะทางกายวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Independent samples t-test และเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ และ 20 สัปดาห์ กลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้การป้องกันการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม การทรงตัว และสมรรถนะทางกายสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวในการหกล้มต่ำกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p<0.05) ภายหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ และ 20 สัปดาห์ กลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้การป้องกันการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกัน การหกล้ม การทรงตัว และสมรรถนะทางกายสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม และมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวใน การหกล้ม ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลจากการศึกษาพบว่า โปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเพิ่มระดับความรู้ พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ความสามารถในการทรงตัว และสมรรถนะทางกาย และสามารถลดความกลัวในการหกล้มของผู้สูงอายุได้ ดังนั้น ผู้ให้บริการสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชนสามารถนำ โปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการดูแลตนเองในการป้องกันการ หกล้มให้กับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการหกล้มทั้งที่บ้านและในชุมชน ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนth_TH
dc.title.alternativeEffectiveness of multifactorial program for prevention falls among community-dwelling older adultsth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailkanchanap@go.buu.ac.thth_TH
dc.author.emailpaiboon_059@hotmail.comth_TH
dc.author.emailpuangtong@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailmayuri.md@hotmail.comth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research was aimed to study the effect of the multifactorial fall prevention program among community-dwelling older adults. One hundred fifty older adults, with risks of falling, no cognitive impairment, and ability to perform daily living activity, were invited to voluntarily participate in this study. The participants were equally and randomly allocated into two intervention groups and a control group. Each group had fifty participants. The intervention group were given the multifactorial fall program 1 (knowledge, aerobic and resistant exercise, environment safety, medication consultation and evaluation) and multifactorial fall program 2 (knowledge, resistant exercise, environment safety, medication consultation and evaluation) continuously for 20 weeks whereas a control group was not given any treatment. The research tools were comprised of three parts: fall prevention program, questionnaires, and physical fitness test. The data given were analyzed by using descriptive statistics, independent samples t-test and repeated measure Anova. The results were showed that in both experimental groups, the average scores of knowledge, fall prevention behavior, balance and physical fitness at the sixteen and twenty weeks of post-intervention were higher than the average scores of the preintervention. The average scores of fear of falling (FoF) at the sixteen and twenty weeks of post-intervention were lower than the average scores of pre-intervention (p<0.05). At the sixteen and twenty weeks, the average scores of knowledge, fall prevention behavior, balance and physical fitness of both experimental group were higher than the average scores of the control group, and the average scores of fear of falling were lower than that of the control group with statistical significance at p<0.05. The research had proved that multifactorial fall prevention program be effectively used to promote fall prevention behavior among older adults. The program could improve knowledge, fall prevention behavior, balance, and physical fitness, and reduce fear of falling level. Therefore, health care providers in the community should apply the program to promote the self-care capability on fall prevention for older adults with risk of falling both at home and in the community.th_TH
dc.keywordพฤติกรรมป้องกันการหกล้มth_TH
dc.keywordสมรรถนะทางกายth_TH
dc.keywordผู้สูงอายุในชุมชนth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_169.pdf3.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น