กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3672
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorทรงยศ บัวเผื่อน-
dc.date.accessioned2019-09-30T01:46:55Z-
dc.date.available2019-09-30T01:46:55Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3672-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “พัฒนาการของมหาวิทยาลัยบูรพาที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์” เป็นการวิจัย เชิงคณุภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรายงานข่าวสารของสื่อ สิ่งพิมพ์ทุกประเภทเกี่ยวกับความเป็นมา และสภาพการณ์ทางด้านการศึกษาก่อนการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน การจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน การจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน และการจัดตั้งมหาวิทยาลยับรูพา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในอดีตในประเด็นระบบการศึกษา บริบททางสังคมก่อนมีวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน การจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน การจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยา เขตบางแสน และการจัดตั้งมหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ที่ทราบถึงความเป็นมาของสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2498 โดยแบ่งบุคคลที่สัมภาษณ์ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ที่เคย ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ “วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน” กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เคยเป็นนิสิตวิทยาลัย วิชาการศึกษา บางแสน ซึ่งต่อมาได้บรรจเุข้าเป็นอาจารย์ประจำที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้กลุ่มที่ 3 ผู้ที่เคยเป็นนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ซึ่ต่อมาได้บรรจเุป็นอาจารย์และเคยดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มที่ 4 ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ผลการศึกษาจากสื่อสิ่งพิมพ์พบว่า บริบททางสังคมก่อนเกิดวิทยาลัยวิชาการศึกษา สังคมไทยถูกรุกรานจากประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ผู้นำในช่วงนั้นเห็นความสำคัญของ การศึกษา จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู และโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงขึ้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร” (พ.ศ. 2496) ผลการศึกษาประเด็น “การจัดตั้งวิทยาลัยวิชา การศึกษา บางแสน” ประกอบด้วย ความจำเป็นที่ต้องสร้างวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ประเด็น ต่อมาคือ การก่อร่างสร้างตัว และประเด็น พัฒนาการของวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ผลการศึกษาประเด็น “การจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน” ประกอบด้วย ที่มาของการยกฐานะสู่มหาวิทยาลัย ปรากฏการณ์หลังการยกฐานะเป็น “มศว บางแสน” และประเด็น รายนามผู้บริหาร “มศว บางแสน” ผลการศึกษา ประเด็น “การจัดตั้งมหาวิทยาลัยบูรพา” ประกอบด้วย พัฒนาการของมหาวิทยาลัยบูรพาในทศวรรษแรก (พ.ศ. 2533-2543) พัฒนาการของ มหาวิทยาลัยบูรพาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2544-2554) และพัฒนาการของมหาวิทยาลัยบูรพาใน ทศวรรษที่สาม พ.ศ. 2555-2562) ส่วนผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง บริบททางสังคมก่อนมีวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ผลการศึกษาประกอบด้วย สภาพการศึกษาก่อนสร้างวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ซึ่งรัฐบาลต้องการขยายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค และการขาดแคลนสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับให้ปริญญาในภูมิภาค ประเด็นการ สร้างวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ผลการศึกษาประกอบด้วย จอมพล ป กับแนวคิดขยายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค การยุบโอนวิทยาลัยบางแสนเข้ากับวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ประเด็น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ผลการศึกษาประกอบด้วย “ดร.สาโรช บวัศรี ยืนยันไม่เร่งรีบสู่การเป็นมหาวิทยาลัย” และ “ดร.ธำรง บัวศรี กับแนวคิดแยกตัวเป็นเอกเทศ” ประเด็น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาประกอบด้วย การตั้งชื่อ ตราสัญลักษณ์ คำขวัญ ของมหาวิทยาลัย การเร่งนำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยบูรพาเป็น ‘วาระ’ เข้าพิจารณาในสภา ผู้แทนราษฎร และข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญในอดีตth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.titleพัฒนาการของมหาวิทยาลัยบูรพาที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Burapha University appeared in Printed Mediath_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsongyot_b@yahoo.comth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe research on “ the Development of Burapha University Revealed on Printed Media” is qualitative research with the objectives to 1) study news about history, educational situations prior to the establishment of Bangsaen Educational College, the establishment of Bangsaen Educational College, the establishment of Srinakharinwirot, Bangsaen Campus, and the establishment of Burapha University presented by all types of printed media 2) study people’s views towards the educational systems and social contexts prior to the establishment of Bangsaen Educational College, the establishment of Bangsaen Educational College, the establishment of Srinakharinwirot, Bangsaen Campus, and the establishment of Burapha University. Key informants who have known the University since its first stage of establishment in B.E. 2498 were selected by purposive sampling method. The informants were divided into 4 categories as follows: 1) the informants who were the former lecturers of Bangsaen Educational College, 2) the informants who were students and then recruited as lecturers at Bangsaen Educational College, and 3) the informant who was the student and then recruited as a lecturer and then became the President of Burapha University. 4) the informant who was villagers who know about this institution’s history. The study revealed that prior to the establishment of Bangsaen Educational College, Thailand was evaded by France, England, and Japan. The leaders at the time recognized that education was vital; therefore, they established Teacher Training School, and Advanced Teacher Training School, and then became College of Education Pasarnmit (B.E. 2496). The study on the establishment of Bangsaen Educational College consisted of necessities to establish the college, and the development of the college. While the study on the establishment of Srinakharinwirot, Bangsaen Campus consisted of the upgrade of the campus to university, and the circumstances after the college was upgraded to SWU Bangsaen Campus. The study on the name list of the administrators of SWU Bangsaen Campus on the establishment of Burapha University consisted of the development of Burapha University in its first decade (B.E. 2533-2543), the development of Burapha University in its second decade (B.E. 2544-2554), and the development of Burapha University in its third decade (B.E. 2555-2562). The in-depth interview comprised 4 sections. The first section concerned the social contexts prior to the establishment of Bangsaen Educational College. The educational situation at the time revealed that the government pushed it effort to expand education to the rural areas as at the time there were no institutes offering tertiary education. The study on the establishment of Bangsaen Educational College revealed Field Marshal Plaek Phibunsongkhram’s effort to expand education to the rural area, and the merging of Bangsaen College with Bangsaen Educational College. The study on the establishment of Srinakharinwirot, Bangsaen Campus revealed that Professor Dr. Saroj Buasri insisted not to hasten the institute to become a university, and Dr. Damrong Buasri and his effort to drive the campus to become an independent university. The study on the establishment of Burapha University comprised naming of the university, the university emblem, its motto, the drive to push the agenda of the establishment of Burapah University into the House of Representatives, and detailed of significant places.th_TH
dc.keywordสื่อสิ่งพิมพ์th_TH
dc.keywordพัฒนาการมหาวิทยาลัยth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_167.pdf6.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น