กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3668
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ ด้วงแพง
dc.contributor.authorปวริศา กำจายกิตติกุล
dc.contributor.authorพัทธ์ชนก วิถีธรรมศักดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-08-02T06:03:14Z
dc.date.available2019-08-02T06:03:14Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3668
dc.description.abstractการปฏิบัติกิจกรรมทางกายในชีวติประจำวันเป็นแนวทางหนึ่งในการออกกำลังกาย และฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวัน ต่อสมรรถภาพทางกาย สภาวะอาการ สภาวะการทำหนา้ที่ และคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาที่คลินิกโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 38 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 19 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายใน ชีวติประจำวันทุก 3 เดือน จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 40-60 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามปกติ ประเมินผลโปรแกรมด้วยการการเดินในระยะเวลา 6 นาที แบบประเมินสภาวะ อาการแบบประเมินสภาวะการทำหน้าที่ และแบบวัดคุณภาพชีวิตจำนวน 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง ระยะระหว่างการทดลอง และเมื่อการทดลองสิ้นสุดลง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิตพิรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ดว้ย Bonferroni ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายในระยะก่อนการทดลองแตกต่าง จากระยะระหว่างการทดลองอย่างที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพ ชีวิตของกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลองระหว่างการทดลอง และระยะสั้นสุดการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยสภาวะอาการและคะแนน เฉลี่ยสภาวะการทำหน้าที่ของกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และระยะสั้นสุดการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยสภาวะอาการในกลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกาย สภาวะการทำหน้าที่ และคุณภาพชีวิตในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05th_TH
dc.description.sponsorshipคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2557th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสมรรถภาพทางกายth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันต่อสมรรถภาพทางกาย สภาวะอาการ สภาวะการทำหน้าที่และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังth_TH
dc.title.alternativeThe effectiveness of enhancement of daily physical activity program on physical fitness, symptom status, functional status, and quality of life among the people with chronic obstructive pulmonary diseaseen
dc.typeResearchen
dc.author.emailP.pawarisa@hotmail.com
dc.author.emaild_supaporn@hotmail.com
dc.year2561en
dc.description.abstractalternativePhysical activity in daily life is one of the approaches to exercise and pulmonary rehabilitation in people with chronic obstructive pulmonary disease. The objective of this Quasi-experimental study was to examine the effects of the enhancement of daily physical activity program on physical fitness, symptom status, functional status, and quality of life. The samples consisted of 38 patients purposely selected from chronic obstructive pulmonary disease patients attending the Asthma and COPD clinic, Out Patient Department, Phanatnikhom Hospital. Simple random sampling was assigned people with COPD into experiment (n = 19) and control (n = 19) groups. The experimental group received the enhancement of daily physical activity program every 3 months, 3 times, 40-60 minutes per session. The control group received usual care. 6MWT, MMRC dyspnea scale, Functional Performance Inventory, and St. George’s Respiratory Questionnaire were measured in both groups at baseline, 3rd month, and the program ends. Descriptive statistics, repeated measures ANOVA, and Bonferroni method were employed to analyze the data. The results were as follows: 1. Mean score of physical fitness of the experimental group were significantly different between baseline and 3rd month (p < .05). And the mean score of the quality of life were significantly different between baseline, 3rd month and the program ends (p < .05). However, mean score of symptom status and mean score of functional status of the experimental group were not significantly different between baseline, 3rd month and the program ends (p > .05). 2. Mean score of symptom status was significant difference (p < .05) between the experimental group and the control group. However, the mean scores of physical fitness, functional status, and quality of life in the experimental group and the control group were not significantly different (p > .05).en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_158.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น