กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3667
ชื่อเรื่อง: ขั้นตอนวิธีสำหรับการพยากรณ์ผลผลิตอ้อยเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล
สุนิสา ริมเจริญ
สุภาวดี ศรีคำดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ
คำสำคัญ: อ้อย - - การปลูก
อุตสาหกรรมน้ำตาล
โครงข่ายประสาทเทียม
อ้อย - - การปลูก - - การวิเคราะห์ข้อมูล
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบุรพา
บทคัดย่อ: อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล แต่ปริมาณอ้อยที่เกษตรกรผลิต เพื่อส่งเข้าสู่โรงงานมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้โรงงานผลิตน้ำตาลมีความเสี่ยงในแง่ของวัตถุดิบในการผลิต การพยากรณ์ปริมาณผลผลิตอ้อยของเกษตรกรจะช่วยให้โรงงานผลิตน้ำตาลสามารถคาดการณ์และวางแผนการผลิตได้เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงนำเสนอขั้นตอนวิธี (mu+lambda) adaptive evolution strategies สำหรับสร้างสมการพยากรณ์ ปริมาณผลผลิตอ้อยของเกษตรกร ขั้นตอนวิธีที่นำ เสนอเป็นการนำเอาข้อดีของสองอัลกอริทึมมารวมกัน กล่าวคือ นำความสามารถของ genetic algorithm ในการหารูปแบบของสมการมารวมกับความสามารถของ evolution strategies ในการปรับค่าสัมประสิทธิ์ สมการที่ได้จากขั้นตอนวิธีที่นำเสนอถูกนำมาทดสอบกับข้อมูลของเกษตรกร ผู้ปลูกอ้อยใน 24 จังหวัดของประเทศไทย ในปี ค.ศ. 2010 – 2014 ผลการทดลองพบว่าขั้นตอนวิธีที่นำเสนอมี ความถูกต้องในการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตประมาณ 88% ซึ่งเมื่อเทียบกับวิธีที่เป็นที่นิยมอย่าง back propagation neural network (BPNN) พบว่าขั้นตอนวิธีที่นำเสนอมีความแม่นยำมากกว่าในทุกกรณีทดสอบ นอกเหนือจากการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตแล้ว งานวิจัยนี้ยังนำเสนอโมเดลการพยากรณ์คุณภาพของ ผลผลิตอ้อยด้วย (CCS) ผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบโมเดลพยากรณ์ที่ได้จาก 3 ขั้นตอนวิธี กล่าวคือ back propagation neural network (BPNN), (mu+lambda) adaptive evolution strategies และ deep neural network ซึ่งผลการวิจัยพบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว deep neural network ให้ค่าความผิดพลาดในการพยากรณ์ปริมาณ ผลผลิตน้อยสุด ส่วนในแง่ของการพยากรณ์คุณภาพ วิธี (mu+lambda) adaptive evolution strategies ให้ค่าความผิดพลาดต่ำสุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3667
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_157.pdf2.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น