กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/366
ชื่อเรื่อง: | การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทยจากการได้รับโลหะหนักในอาหารทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Health risk assessment of heavy metals to Thai peoplethrough consumption of seafood from the eastern coast of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | แววตา ทองระอา ฉลวย มุสิกะ วันชัย วงสุดาวรรณ อาวุธ หมั่นหาผล มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | สัตว์ทะเล - - ผลกระทบจากโลหะหนัก สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช อาหารทะเล - - การปนเปื้อน โลหะหนัก - - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี และ ทองแดง ในสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ที่ได้จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในจังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยเก็บตัวอย่าง ปลา ปู กุ้ง กั๊ง และหอย ในช่วงระหว่างปี 2550-2552 ได้ตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 798 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่าโลหะหนักในสัตว์ทะเลส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค พบโลหะหนักสูงเกินค่ามาตราฐานคิดเป็นร้อยละ 21.2 ของตัวอย่างทั้งหมด โดยโลหะหนักที่ตรวจพบสูงเกินค่ามาตราฐานเรียงตามลำดับได้แก่ สังกะสี ทองแดง และแคดเมียม ซึ่งส่วนใหญ่พบใน หอย ปู และหมึกบางชนิด สำหรับสารตะกั่วพบสูงเกินมาตราฐานเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้น ในบรรดาโลหะหนักทั้ง 5 ชนิด มีเพียงปรอทที่พบความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความยาวและน้ำหนักของปลาทะเลบางชนิด การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทยจากการได้รับโลหะหนัก ในอาหารทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกพบว่าการปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารทะเลบริเวณดังกล่าวยังไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากนัก ยกเว้นกลุ่มเด็กที่บริโภคอาหารทะเลจำพวกหอย ปู กุ้ง และหมึกบางชนิดมากเกินไปอาจมีภาวะความเสี่ยงต่อการได้รับโลหะทองแดงและสังกะสีจนเกินค่าความปลอดภัยที่กำหนดได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการบริโภคอาหารทะเลจากจังหวัดระยองมีแนงโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าอาหารทะเลจากจังหวัดอื่น โดยเฉพาะอาหารทะเลที่เป็นพวกที่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว เช่น หอย ปู กุ้ง หมึก เป็นต้น มีแนวโน้มความเสี่ยงมากกว่าปลา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/366 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น