กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/366
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorแววตา ทองระอาth
dc.contributor.authorฉลวย มุสิกะth
dc.contributor.authorวันชัย วงสุดาวรรณth
dc.contributor.authorอาวุธ หมั่นหาผลth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:30Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:30Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/366
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี และ ทองแดง ในสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ที่ได้จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในจังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยเก็บตัวอย่าง ปลา ปู กุ้ง กั๊ง และหอย ในช่วงระหว่างปี 2550-2552 ได้ตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 798 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่าโลหะหนักในสัตว์ทะเลส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค พบโลหะหนักสูงเกินค่ามาตราฐานคิดเป็นร้อยละ 21.2 ของตัวอย่างทั้งหมด โดยโลหะหนักที่ตรวจพบสูงเกินค่ามาตราฐานเรียงตามลำดับได้แก่ สังกะสี ทองแดง และแคดเมียม ซึ่งส่วนใหญ่พบใน หอย ปู และหมึกบางชนิด สำหรับสารตะกั่วพบสูงเกินมาตราฐานเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้น ในบรรดาโลหะหนักทั้ง 5 ชนิด มีเพียงปรอทที่พบความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความยาวและน้ำหนักของปลาทะเลบางชนิด การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทยจากการได้รับโลหะหนัก ในอาหารทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกพบว่าการปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารทะเลบริเวณดังกล่าวยังไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากนัก ยกเว้นกลุ่มเด็กที่บริโภคอาหารทะเลจำพวกหอย ปู กุ้ง และหมึกบางชนิดมากเกินไปอาจมีภาวะความเสี่ยงต่อการได้รับโลหะทองแดงและสังกะสีจนเกินค่าความปลอดภัยที่กำหนดได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการบริโภคอาหารทะเลจากจังหวัดระยองมีแนงโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าอาหารทะเลจากจังหวัดอื่น โดยเฉพาะอาหารทะเลที่เป็นพวกที่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว เช่น หอย ปู กุ้ง หมึก เป็นต้น มีแนวโน้มความเสี่ยงมากกว่าปลาth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2550-2551 สถาบันวิทยาศาตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสัตว์ทะเล - - ผลกระทบจากโลหะหนักth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.subjectอาหารทะเล - - การปนเปื้อนth_TH
dc.subjectโลหะหนัก - - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.titleการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทยจากการได้รับโลหะหนักในอาหารทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeHealth risk assessment of heavy metals to Thai peoplethrough consumption of seafood from the eastern coast of Thailanden
dc.typeResearch
dc.year2552
dc.description.abstractalternativeThis study inverstigated the presence of Hg, Pb, Cd, Zn and Cu in marine animals collected from Chon Buri, Rayong, Chanthaburi and Trat Provinces. A total of 798 samples including fishes and shellfish were collected during the year 2007-2009. Results indicated the concentrations of heavy metals in most of the marine animal were within the acceptable limits for consumption.There were 21.2% of total samples some heavy metals over the acceptable limits. Those heavy metals were Zn, Cu and Cd, respectively, which were mostly found in some shellfish species. There was only 1 sample containing Pb which exceeded the acceptable limits. Among 5 analyzed metals, only concentration of Hg was significantly positively correlated with the length and weight of some species of fishes. overall, the assessment of the risk to homan health associated with consumption of seaqfood from the Eastern Coast of Thailand that the heavy metals may not pose a health risk to seafood consumers. However, heavy shellfish consumers, especially cho\ildren may pose a health risk from Cu and Zn over the safety limits. Consumption of seafood from Rayong Province may pose a health risk than that from other Provinces and shellfish had more risks than fishesen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น