กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3639
ชื่อเรื่อง: | การสำรวจความหลากหลายและชนิดของโปรตีนในหอยนางรมบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกของอ่าวไทยเพื่อการใช้ประโยชน์สำหรับงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Biodiversity and identification of proteins in oyster inhabited in the East coast of the Gulf of Thailand and its application in marine environmental research |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทิน กิ่งทอง จันทรกานต์ ศรีสมทรัพย์ ปฐมฤกษ์ อิงสันเทียะ ดารณี โชคชัยชำนาญกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | พยาธิวิทยา ตัวชี้วัดทางชีวภาพ หอยนางรม สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสารเคมีที่มีการปนเปื้อนในบริเวณชายฝั่งทะเลต่อหอยนางรมปากจีบชนิด Saccostrea cucullata โดยทำการศึกษาพิษวิทยาของสารดีดีที (DDT, Dichlorodiphenyltrichloroethane) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มออร์แกโนคลอรีน โดยได้ออกแบบการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินผลกระทบต่อชีววิทยาการเจริญของตัวอ่อน และต่อตัวเต็มวัย และศึกษาโปรตีโอมในเนื้อเยื่อแมนเทิลและโปรตีโอมในเมือกของหอยนางรมปากจีบ เพื่อศึกษากลไกการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อเมื่อสัมผัสสารดีดีที นอกจากนี้ยังหาตัวชี้วัดทางชีวภาพระดับโปรตีน (protein biomarker) ในการรับสัมผัสสารดีดีที โดยใช้เทคนิคมิญชวิทยา และ โปรทีโอมิกส์ ผลการศึกษาพบว่า สารดีดีทีมีความเป็นพิษที่รุนแรงต่อตัวอ่อนระยะแกสตรูลา ระยะโทรโคฟอร์ และระยะเวลิเจอร์ ทำให้ตัวอ่อนในแต่ละระยะเกิดความผิดปกติขึ้นแม้ว่าจะได้รับความเข้มข้นสารต่ำเพียง 0.25 μg/L ผลการทดสอบในตัวเต็มวัยพบว่าสารดีดีทีมีผลต่ออัตราการตายและมีค่า LC50 ณ เวลา 96 ชั่วโมง เท่ากับ 891.25 μg/L ผลการศึกษาในระดับเนื้อเยื่อพบว่าสารดีดีทีมีผลต่อโครงสร้างของเนื้อเยื่อในหอยนางรมกลุ่มทดสอบที่ได้รับความเข้มข้นของสาร 10 และ 100 μg/L เป็นเวลา 96 ชั่วโมง พบการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ในเนื้อเยื่อเหงือก กระตุ้นการสร้างเซลล์สร้างเมือกเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเซลล์ในต่อมย่อยอาหาร ซึ่งระดับความรุนแรงของสารดีดีทีต่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาการทดสอบ ผลการศึกษาโปรตีโอมพบว่าสารดีดีทีมีผลต่อปริมาณโปรตีนในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงาน การสร้างโปรตีน โปรตีนโครงสร้างโปรตีนขนส่ง โปรตีนที่เกี่ยวข้องความเครียด และการแลกเปลี่ยนก๊าซ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการรายงานพิษวิทยาของสารดีดีทีในระดับโมเลกุลและกลไกการทำงานของเซลล์ในหอยนางรมปากจีบ และผู้วิจัยได้เสนอตัวชี้วัดทางชีวภาพระดับโปรตีน (potential protein biomarker) ไว้ด้วย นอกจากนี้โครงการวิจัยนี้ยังได้ขยายการศึกษาเพื่อทำการตรวจวัดการปนเปื้อนของสารสารประกอบบิวทิลทิน (butyltin) ซึ่งเป็นสารกลุ่มออร์แกโนทินที่มีการปนเปื้อนบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก โดยทำการวิเคราะห์ในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis ผลการศึกษาพบว่า พบการปนเปื้อนในเนื้อเยื่อจากหอยที่เก็บตัวอย่างจากบริเวณชายฝั่งภาคจังหวัดชลบุรี ระยอง และตราด พบมีค่าเฉลี่ยค่าเท่ากับ 1.04, 5.98 และ 0.95 ng/g dry weight ตามลำดับ ซึ่งเมื่อคิดเป็นหน่วยในน้ำหนักสดจะเทียบเท่ากับ 0.23, 0.10 และ 0.15 ng/g wet weight ตามลาดับ แม้ว่ายังคงพบการปนเปื้อนสารประกอบบิวทิลทินในสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มการปนเปื้อนลดลง อย่างไรก็ดีควรมีการตรวจวัดเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากสารกลุ่มนี้เป็นสารที่มีการสะสมยาวนาน persistent organic pollutants (POPs) จึงอาจมีการสะสมในสิ่งแวดล้อมได้ยาวนาน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3639 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_129.pdf | 4.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น