กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3637
ชื่อเรื่อง: | “มโนรมย์” การปรับภูมิทัศน์สำหรับเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | “Manorom” Development of Landscape for Creative Cultural Tourism |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ พลีรักษ์ ปริญญา นาคปฐม เยี่ยมพล โชติปัญญาธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยนานาชาติ |
คำสำคัญ: | ท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ การปรับปรุงภูมิทัศน์ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | มโนรมย์เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าสนใจ มีการขุดพบโบราณสถานและ โบราณวัตถุที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำเกษตรกรรมและเกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรหลายแห่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจ รวบรวม และจัดทำแผนที่ฐานทรัพยากรเชิงวัฒนธรรม 2) ประเมินศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 3) วางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินและออกแบบเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 4) สร้างตราสินค้าและกำหนดตำแหน่งทางการตลาดให้กับเมืองมโนรมย์ และ 5) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแผน การพัฒนาเมืองมโนรมย์ให้เป็นเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จากการรวบรวมข้อมูลสถานที่สำคัญของเมืองมโนรมย์สามารถจำแนกสถานที่ออกเป็น 2 กลุ่ม หลัก ได้แก่ กลุ่มศาสนสถาน และกลุ่มวิถีเกษตร นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ของมโนรมย์ นั่นคือ เมือง แห่งพุทธศาสนาและวิถีเกษตร โดยสถานที่ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้มี 35 แห่ง และจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ 5 แห่ง ศิลปะ หัตถกรรม ประติมากรรม ภาพวาด ปูนปั้น และแกะสลัก 3 แห่ง ศาสนา รวมถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ทาง ศาสนา 10 แห่ง และลักษณะงานและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้เฉพาะท้องถิ่น 17 แห่ง จากนั้นจัดทำและเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวให้มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของเมือง โดยแบ่ง เส้นทางการท่องเที่ยวออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ เส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมด้านประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ ด้านวิถีชีวิตเกษตรกรรมเชิงสร้างสรรค์ และด้านประเพณีเชิงสร้างสรรค์ โดยเส้นทางการท่องเที่ยวนี้ได้นำเทคนิคระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographic Information System) มาใช้ในการสร้างเส้นทางและนำเสนอในรูปแบบของแผนที่เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางและวางแผนการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองมโนรมย์ การใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองมโนรมย์ในปี พ.ศ. 2545 และ 2560 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน และไม้ผล ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้าง และ แหล่งน้ำ ในช่วงเวลานี้พบการเปลี่ยนจากนาข้าวไปเป็นพืชไร่มากที่สุด รองลงมาเป็นการเปลี่ยนแปลง จากไม้ผลเป็นนาข้าว การเปลี่ยนแปลงจากนาข้าวเป็นไม้ผล ในขณะที่ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ มีการขยายตัวมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.22 ส่วนการออกแบบเมืองและการปรับปรุงภูมิทัศน์นั้นมีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนา มโนรมย์ให้เป็นเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์และแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก การปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางการท่องเที่ยว 3 รูปแบบ และส่วนที่ 2 เป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์รายตำบล โดยทุกตำบลได้มีการนำเสนอรูปแบบในการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับแนวทางของการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ตามเป้าหมายของเมืองมโนรมย์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3637 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_127.pdf | 12.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น