กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3632
ชื่อเรื่อง: การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลแ์ละสูบบุหรี่ ในวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (ระยะที่ 2)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Alcohol Drinking and Smoking Prevention for Hearing Impaired Adolescents (Phase II)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรนภา หอมสินธุ์
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
นิรวรรณ ทองระอา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experiment Research) มีรูปแบบ การศึกษาแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (nonequivalent control group pretest posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพต่อความมั่นใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ ไม่สูบบุหรี่ ความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ ไม่สูบบุหรี่ และความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น วัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงาน การศึกษาพิเศษ 2 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 40 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง (self-efficacy) ของ Bandura (1997) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะภายในตนจากทั้ง 4 แหล่งกำเนิด ได้แก่ 1) การกระทำที่บรรลุผลสำเร็จ 2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น 3) การชักจูงด้วยคำพูด และ 4) ภาวะทางกายและอารมณ์ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ และติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงภายหลัง 4 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (t-test) ที่ระดับ นัยสำคัญสถิติ .05 ผลการศึกษา พบว่า 2. กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม ฯ มีความมั่นใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (t=3.683, p value=.001) ความมั่นใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=1.807, p value=.039) ความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ (t=2.563, p value=.007) ความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=3.726, p value=.001) และความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ (t=3.816, p value<.001) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ 2. กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม ฯ มีความมั่นใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (t=2.561, p value=.012) ความมั่นใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=2.950, p value=.004) ความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ (t=1.884, p value=.032) ความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=1.836, p value=.035) และ ความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ (t=6.004, p value<.001) สูงกว่าวัยรุ่น ฯ กลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมไปประยุกต์เพื่อพัฒนากิจกรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงในการเสริมสร้างศักยภาพวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อันจะนำไปสู่การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นกลุ่มนี้ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3632
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_122.pdf3.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น