กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/362
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วันดี โตรักษา | th |
dc.contributor.author | สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ | th |
dc.contributor.author | นิสากร กรุงไกรเพชร | th |
dc.contributor.author | พัชรินทร์ พูลทวี | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:47:29Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:47:29Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/362 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เด็กวัยเรียน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของสถาบันชุมชน ตามแนวคิดของผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กในชุมชน 9 และชุมชน 10 เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว หมู่ 4 หมู่ 8 หมู่ 11 องค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง และทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ณ หมู่ 4 และ หมู่ 5 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง จังหวัดชลบุรีด้วย ทำการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้แทนจาก 1) โรงเรียน 2) สถานบริการสาธารณสุข 3) องค์กรปกครองท้องถิ่น 4) คณะกรรมการชุมชน และประชาชน รวม 341 คน ซึ่งได้จากการแนะนำของผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มตัวอย่างหลักแนะนำต่อ ๆ ไป เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บข้อทมูลอีกจำนวน 5 คนที่ผ่านการอบรมชี้แจง เนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการเก็บข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นอย่างดีแล้ว เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดประเด็นหลักในการสัมภาษณ์ไว้ ใช้การบันทึกเสียง บันทึกภาพ และการบันทึกวีดิโอพร้อมเสียง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกับวิธีการตรวจสอบหลายทาง ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งได้ผลการวิจัยดังนี้ ประชาชนเห็นว่าโรคไข้เลือดออกปํญหาในพื้นที่ศึกษา การดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ปรากฏการณ์ดำเนินรูปแบบและกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม เริ่มจากเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้นำชุมชนต่าง ๆ และขอความร่วมมือจากโรงเรียน โดยแต่ละภาคส่วนจะมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไป หน่วยงานของรัฐสนับสนุนวัสดุ และงบประมาณ การกำหนดกิจกรรมดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่กำหนดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและครูในโรงเรียน ประชาชนยังไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมตามแนวทางที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่นั้นยังไม่ค่อยพบเห็นความหลากหลายเท่าที่ควร กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าบุคคลที่ควรมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กวัยเรียน คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การปลูกฝังความคิดเสียสละเพื่อส่วนรวม ความรับผิดชอบต่อสังคมการมีจิตสาธารณะ และแรงจูงใจ ยังเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงาน พื้นที่ศึกษายังไม่มีนโยบายสาธารณะสุขที่ชุมชนคิดร่วมกัน เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกแก่เด็กวัยเรียนทั้งชุมชน มีเพียงนโยบายการปฏิบัติงานของเฉพาะองค์กรที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานอยู่เท่านั้น แต่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยที่ควรจะมีนโยบายสาธารณะ เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดิน ปี 2551 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การจัดการสิ่งแวดล้อม | th_TH |
dc.subject | นักเรียน - - สุขภาพและอนามัย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.subject | สุขาภิบาลในโรงเรียน | th_TH |
dc.title | การพัฒนาระบบจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เด็กวัยเรียนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของสถาบันชุมชนภาคตะวันออก | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2551 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น