กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3624
ชื่อเรื่อง: | โครงการออกแบบและพัฒนาตำรับยาใช้ภายนอกจากพืชท้องถิ่น ของประเทศไทยในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนังเพื่อลดการอักเสบ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Design and development of transdermal patches as antiinflammatory formulations from local Thai plants |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทรวดี ศรีคุณ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ยาใช้ภายนอก พืชท้องถิ่น แผ่นแปะผิวหนัง การอักเสบ ชันโรง สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ได้จากสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อเป็นทางเลือก ในการนำมาพัฒนาตำรับยาต่อไป ชัน (Propolis) จากชันโรงสายพันธุ์ขนเงิน (Tetragonula pegdeni Schwarz) ที่เพาะเลี้ยงในเขตสวนผลไม้ จ.จันทบุรี และผักชีลาว (Dill, Anethum graveolens L) และบัวบก (Centella, Centella asiatica L.) โดยมีสารสกัดมาตรฐาน คือ ECa ที่มีการใช้ทางภูมิปัญญาชาวบ้านและทางอายุรเวชเพื่อลดการอักเสบมาอย่างช้านาน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลด้าน การวิจัยบางส่วนยังไม่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีการพัฒนาเป็นสูตรตำรับเพื่อใช้ในการลดการอักเสบในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง คณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเพื่อยืนยันผลของฤทธิ์ต้านการอักเสบที่พบ พร้อมทั้งหาวิธีการสกัดที่ให้สารสกัดที่มีฤทธิ์สูงสุด เพื่อนำสารสกัดที่ได้นั้นมาออกแบบและพัฒนาให้ได้ตำรับยาต้นแบบที่มีความคงตัวและสะดวกต่อการใช้งานในรูปแบบแผ่นแปะ ผิวหนัง วิธีการและผลการทดลอง สารสกัดชันและสารสกัดผักชีลาวถูกนำมาทดสอบทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์มาโครฟาจ RAW264.5 พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitric oxide (NO) ได้ที่ IC50 ของสารสกัดชัน สารสกัดผักชีลาวส่วนลำต้นเหนือดิน (Ar Et/Pet) เท่ากับ 32.59±0.36 µg/ml และ 68.81±1.37 µg/ml ตามลำดับ พร้อมทั้ง แสดงฤทธิ์ในการลดระดับของ pro-inflammatory cytokine ที่หลั่งจากเซลล์ด้วย นอกจากนั้น สารสกัดชันยังพบว่ามีฤทธิ์สูงกว่า α-mangostin ที่เป็นสารประกอบหลักในสารสกัดในขนาดสารที่เทียบเท่ากันถึง 5 เท่า โดยสารสกัด Ar Et/Pet นั้น พบว่ามีผลลดการแสดงออกของยีน iNOS ที่ relative mRNA expression เท่ากับ 0.62±0.11 และในการพัฒนาสูตรตำรับแผ่นแปะผิวหนังโดยมี ECa 233 เป็นส่วนประกอบนั้นมีส่วนประกอบในตำรับ คือ PVA ชนิดของพอลิเมอร์ที่ใช้ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งลักษณะทางกายภาพ ความเข้ากันของตำรับ ความยืดหยุ่น การดูดซับของเหลวและการปลดปล่อยยา สรุป และอภิปราย สารสกัดชันจากชันโรง สารสกัดผักชีลาวส่วนลำต้นเหนือดินนั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้าง NO ซึ่งเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของกลไกการอักเสบ ซึ่งสารสกัดชันมีฤทธิ์ สูงกว่าสารบริสุทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนสารสกัดผักชีลาวจากส่วนลำต้นเหนือดินพบฤทธิ์ โดยทำงานผ่านการยับยั้งการแสดงออกของยีน iNOS และต้นแบบตำรับแผ่นแปะผิวหนังที่บรรจุ สารสกัดบัวบก ECa 233 นั้น สามารถรักษาคุณสมบัติของต้นแบบตำรับได้โดย โดยพบว่า SCMC อาจเป็นพอลิเมอร์ที่เหมาะสมในการนำไปศึกษาต่อ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการดูดซับหนองในอนาคตได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3624 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_114.pdf | 6.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น