กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3613
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินความหลากหลาย ของสัตว์กลุ่มหอยในแนวหญ้าทะเล บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Using Geoinformation for Evaluation of the Mollusk Biodiversity in Seagrass area: Kung Krabaen Bay, Chantaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษนัยน์ เจริญจิตร
กาญจนา หริ่มเพ็ง
พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา
สมถวิล จริตควร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กลุ่มหอย
หญ้าทะเล
อ่าวคุ้งกระเบน
หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาชนิดพันธุ์และการแพร่กระจายของหอยทะเลขนาดเล็ก บริเวณแนวหญ้าทะเล บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยประยุกต์การสำรวจภาคสนามและเทคโนโลยี ภูมิสารสนเทศ ซึ่งได้ประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก หรือ โดรน ในการผลิตข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ รายละเอียดสูง ผลการศึกษาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 (ต้นฤดูฝน) และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 (ปลาย ฤดูแล้ง) รวมทั้งสิ้น 30 สถานี พบว่า ความชุกชุมหอยทะเลขนาดเล็กในฤดูฝน มีทั้งสิ้น 17 วงศ์ (Family) 26 สกุล (Genus) และไม่น้อยกว่า 56 ชนิดพันธุ์ ส่วนฤดูแล้งพบหอยทะเลขนาดเล็กทั้งสิ้น 22 วงศ์ 32 สกุล ไม่น้อยกว่า 58 ชนิดพันธุ์ ความชุกชุมเฉลี่ยของหอยทะเลขนาดเล็กบริเวณแหล่งหญ้าทะเลทะเลใบสั้น (หญ้ากุ่ยช่ายทะเล (Halodule pinifolia)) และประเภทใบยาว (หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides)) เท่ากับ 22.62±1.06 x104 ตัวต่อตารางเมตร และผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากโดรนพบพื้นที่ปกคลุมของแนว หญ้าทะเลบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนทั้งหมด เท่ากับ 1.80 ตารางกิโลเมตร เมื่อพิจารณาปริมาณหอยทะเลขนาด เล็กต่อปริมาณการปกคลุมของแนวหญ้าทะเลทั้งหมด จะพบในฤดูฝนมากกว่าเล็กน้อย โดยความชุกชุมหอย ทะเลขนาดเล็กในฤดูฝน ประมาณ 4.21 x1011 ตัว และฤดูแล้งพบความชุกชุมหอยทะเลขนาดเล็ก ประมาณ 3.94 x 1011 ตัว ผลจากการวิจัยพบว่าโดรนเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตภาพถ่ายทาง อากาศเพื่อวิเคราะห์ความชุกชุม ของหอยทะเลขนาดเล็กที่สัมพันธักับพื้นที่ของหญ้าทะเลได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อทิศทางการพัฒนาและอนุรักษ์ระบบนิเวศของอ่าวคุ้งกระเบนอย่างมีนัยสำคัญต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3613
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_103.pdf9.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น