กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3607
ชื่อเรื่อง: การกำจัดโลหะอันตรายในน้ำทิ้งจากห้องปฏิบัติการด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโน (Fe3 O4) เคลือบด้วยพอลิเมอร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Removal of toxic metals in laboratory wastewaters using polymer coated magnetic nanoparticles (Fe3O4)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิธร มั่นเจริญ
ปิยะพร ณ หนองคาย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
โลหะ
อนุภาคนาโนแม่เหล็ก
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในโครงการวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์อนุภาคแม่เหล็กนาโนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดูดซับโลหะโดยการเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยพอลิเมอร์ ซึ่งพอลิเมอร์ที่นำมาเคลือบมี 2 ชนิดด้วยกันคือ ไคโตซานสำหรับการดูดซับโครเมียม(VI) และอะกาโรสสำหรับการดูดซับโคบอลต์ (II) ขั้นตอนการเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโนด้วยพอลิเมอร์นั้นได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโน เช่น ปริมาณไคโตซานที่ใช่ในการเคลือบบนอนุภาคแม่เหล็กนาโน ปริมาณกลูตารัลดีไฮด์ และเวลาในการเกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของไคโตซาน (สำหรับไคโตซาน) และการปรับเปลี่ยนสภาพผิวอะกาโรสด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้นของอะกาโรส ความเข้มข้นของสารละลาย span 80 ระยะเวลาในการเขย่าสารในช่วงของการเติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และระยะเวลาการเขย่าสารในช่วงของการเติมสารละลาย span 80 (สำหรับอะกาโรส) เป็นต้น จากผลการทดลองพบว่าขนาดอนุภาคแม่เหล็กนาโนมีขนาดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 8.88 ± 2.30 นาโนเมตร และเมื่อเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโนด้วยพอลิเมอร์แล้วอนุภาคที่ได้มีขนาดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 14.91 ± 3.46 นาโนเมตร และ 18.60 ± 3.50 นาโนเมตร สำหรับอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่เคลือบด้วยไคโตซาน และอะกาโรสตามลำดับ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในขั้นตอนการดูดซับโลหะ (ผลของพีเอช และผลของเวลาในการดูดซับ) ศึกษาไอโซเทอมการดูดซับ และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการชะโลหะจากอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบด้วยพอลิเมอร์ ซึ่งผลการทดลองพบว่าไอโซเทอมของการดูดซับโลหะทั้งสองชนิดเป็นแบบแลงเมียร์ และเมื่อนำอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบพอลิเมอร์ทั้งสองชนิดไปทำการดูดซับโครเมียม (VI) และโคบอลต์ (II) พบว่าอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่เคลือบด้วยไคโตซานสามารถดูดซับโครเมียม (VI) ได้ดีเป็นที่น่าพอใจ ส่วนอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่เคลือบด้วยอะกาโรสสามารถดูดซับโคบอลต์ (II) ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจะมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3607
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_071.pdf5.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น