กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3603
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชต่อเอนไซม์ Cytochrome P450 2A6 ที่ย่อยสลายนิโคตินและผลกระทบต่อเอนไซม์ cytochrome P450 ในตับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of compounds from Thai medicinal plants in inhibition against the human cytochrome P450 2A6, nicotine-metabolizing enzyme, and their effects toward human hepatic cytochrome P450 monooxygenases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทรงกลด สารภูษิต
พรพิมล รงค์นพรัตน์
เอกรัฐ ศรีสุข
ปณิดา ดวงแก้ว
วันวิสาข์ เนตรเรืองแสง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ไซโตโครม พี 2เอ6
สารสกัดจากพืช
ไซโตโครม พี 450
นิโคติน
สารยับยั้งเอนไซม์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด ถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย โดยเอนไซม์ CYP2A6 ในตับที่ย่อยสลายนิโคตินก่อให้เกิดการเสพติดการสูบบุหรี่ในขณะที่เอนไซม์ CYP2A13 ที่ปอดกระตุ้นสารก่อมะเร็ง 4-(methylnitrosamino)-1-(3-pyridyl)-1-butanone (NNK) ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอดขึ้น ดังนั้นการลดการทำงานของเอนไซม์ CYP2A6 และ CYP2A13 จึงเป็นเป้าหมายในการรักษาอาการเสพติดบุหรี่และลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอด โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจำเพาะและกลไกในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP2A6 ของสารสกัดจากสมุนไพรขลู่และหญ้าดอกขาว ที่เคยมีรายงานว่าออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 ได้ดีในหลอดทดลอง ผลการศึกษาพบว่าสารสำคัญในกลุ่มฟลาโวนอยด์จากพืชทั้งสองชนิดได้แก่ apigenin luteolin chrysoeriol และ quercetin ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 และ CYP2A13 ได้ดีกว่าสารสำคัญในกลุ่ม thiophene ทั้งสามชนิดที่ทำบริสุทธิ์ได้จากขลู่ และสารบริสุทธิ์ในกลุ่ม hirsutinolide-type sesquiterpene lactones จากสมุนไพรหญ้าดอกขาวออกฤทธิ๋ยับยั้งได้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตามสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ 4 ชนิด ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 และ CYP2A13 แบบผันกลับได้ ในขณะที่สารในกลุ่ม thiophene และ hirsutinolide-type sesquiterpene lactones ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 และ CYP2A13 แบบผันกลับไม่ได้ที่ขึ้นอยู่กับสารให้อิเล็กตรอน NADPH เวลาที่ใช้ในการบ่มสารยับยั้งและความเข้มข้นของสารยับยั้ง (Mecahinism based inhibition)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3603
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_067.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น