กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3598
ชื่อเรื่อง: โมเดลสมการโครงสร้างของนวัตกรรม ความร่วมมือ และความสามารถด้านโลจิสติกส์ที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Structural Equation Model of Innovativeness, Collaboration and Logistics Capbility that influences Competitve Advantages of Logistics Service Providers in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัญญา ยิ้มศิริ
แววมยุรา คำสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารงานโลจิสติกส์
การขนส่งสินค้า
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษางานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลโดยรวมของตัวแปรต่อความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบสมการโครงสร้างของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 280 แห่ง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารอุตสาหกรรมธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยจำนวน 10 ท่าน ผู้วิจัยใช้โปรแกรมทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม และในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลการวิจัยเป็นดังนี้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า รูปแบบการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และสอดคล้องกับทฤษฎี โดยตัวแปรสังเกตได้มีค่ามาตรฐานน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.592-0.880 ค่าอัตราความผันแปร (R2) เท่ากับ 0.350-0.774 และการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า รูปแบบของตัวแปรมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Model Fit) มีค่าทดสอบดังนี้ Chi-square(X2) = 92.952, df = 57, p = .002, CMIN/DF (X2/df)= 1.631, GFI=.956, CFI=.987, AGFI=.918, NFI=.967 and RMSEA= .048 ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของความได้เปรียบเชิงการแข่งขันได้ ร้อยละ 91 (R2= 0.91) ผลการศึกษาพบว่านวัตกรรม ความร่วมมือ และความสามารถด้านโลจิสติกส์ส่งอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และ อิทธิพลรวมในเชิงบวกต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยดังนั้นอุตสาหกรรมธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย ต้องส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความสามารถด้านโลจิสติกส์รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3598
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_062.pdf2.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น